New Southbound Policy Portal
กระทรวงเศรษฐการ วันที่ 4 มี.ค. 64
นโยบายมุ่งใต้ใหม่ซึ่งมุ่งเน้นหลักการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน และการพัฒนาในหลากหลายมิติ เริ่มจากความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนด้านบุคลากร โดยผ่านการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกัน การใช้ทรัพยากรและบุคลากรร่วมกันของไต้หวันกับกลุ่มประเทศอาเซียน เอเชียใต้ นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย
อย่างไรก็ดี การประเมินประสิทธิผลของนโยบายมุ่งใต้ใหม่ ไม่ใช่เพียงแค่พิจารณาจากดุลการค้าเกินดุลเท่านั้น หากวิเคราะห์จากความสัมพันธ์ทางการค้าระดับทวิภาคี ตั้งแต่มีการผลักดันนโยบายมุ่งใต้ใหม่ในปี 2016 เป็นต้นมา มูลค่าการค้าระหว่างไต้หวันกับประเทศเป้าหมายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ เพิ่มขึ้นจาก 3,088,200 ล้านเหรียญไต้หวันเป็น 3,202,200 ล้านเหรียญไต้หวัน ในปี 2020 หรือเติบโตขึ้นร้อยละ 3.7 สำหรับดุลการค้าเกินดุลที่ลดลง มีสาเหตุมาจากมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ไต้หวันมีการนำเข้าจากสิงคโปร์และมาเลเซียมากกว่าร้อยละ 40 นอกจากนี้ยังนำเข้าจากเวียดนามและไทย มากกว่าร้อยละ 20 ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์ทางการค้าที่เกิดจากการที่ผู้ประกอบการไต้หวันไปลงทุนตั้งฐานการผลิต และพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตในประเทศเหล่านี้ จะถูกส่งมากลับยังไต้หวันเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จากนั้นจึงจะส่งไปจำหน่ายทั่วโลก ซึ่งถือเป็นการอุทิศตนเพื่อสร้างดุลการค้าเกินดุลให้กับทั่วโลกอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ นโยบายมุ่งใต้ใหม่ยังช่วยกระตุ้นให้การลงทุนระหว่างไต้หวันกับประเทศเป้าหมายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นในปี 2020 ไต้หวันลงทุน (เพิ่ม) ในประเทศเป้าหมายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ 2,829 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นจากปี 2016 ที่เริ่มมีการผลักดันนโยบายมุ่งใต้ใหม่ ร้อยละ 18.8) ในขณะที่ประเทศเป้าหมายนโยบายมุ่งใต้ใหม่มาลงทุน (เพิ่ม) ในไต้หวัน 3,810 ล้านเหรียญสหรัฐ (เทียบกับปี 2016 เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.6) โดยประเทศเป้าหมายตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่ที่เข้ามาลงทุนในไต้หวันได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์และมาเลเซีย เป็นต้น
ทั้งนี้ กระทรวงเศรษฐการจะผลักดันนโยบายมุ่งใต้ใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ระบุไว้ข้างต้น โดยจะขยายการแลกเปลี่ยนและความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระดับทวิภาคีกับประเทศเป้าหมายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ในทุกมิติ อีกทั้งจะให้ความช่วยเหลือนักธุรกิจไต้หวัน ในการวางรากฐานทางธุรกิจในต่างประเทศ และเพิ่มศักยภาพโดยรวมของภาคอุตสาหกรรมไต้หวัน อันจะเป็นช่วยสร้างเสริมเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ภูมิภาคอีกด้วย