New Southbound Policy Portal

ปธน.ไช่ฯ เข้าร่วม “การประชุมของกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียน”

ทำเนียบประธานาธิบดี วันที่ 7 ธ.ค. 64

เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 7 ธ.ค. ประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เข้าร่วม “การประชุมของกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียน(Austronesian)” โดยปธน.ไช่ฯ คาดหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะประยุกต์ใช้มุมมองของกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียนในการสร้างคุณประโยชน์ให้กับภูมิภาคและก่อให้เกิดสันติสุขทั่วโลก ผ่านการประชุมในครั้งนี้ พร้อมทั้งกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกในกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียนและประเทศในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิกที่ทรงอิทธิพล ประสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันอย่างมีความหมาย ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียนเกิดความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก
 
ปธน.ไช่ฯ ระบุว่า 2 ปีมานี้ ทั่วโลกต่างต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายที่รุนแรง แต่ถึงกระนั้น เหล่าพี่น้องในกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียน ต่างยังคงประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะในด้านการป้องกันโรคระบาด เศรษฐกิจและวัฒนธรรมทางสังคม ต่างก็ได้ประสานความร่วมมือระหว่างกัน โดยเฉพาะท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ยิ่งจำเป็นต้องเสริมสร้างความเชื่อมโยงในระยะยาวมากยิ่งขึ้น
 
ปธน.ไช่ฯ แถลงว่า หัวข้อการประชุมในปีนี้ มุ่งเน้นไปที่แนวทางการบูรณาการระหว่างระบบความเป็นผู้นำแบบดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียน และการเมืองร่วมสมัย ปธน.ไช่ฯ เชื่อว่า จากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางสังคมแบบดั้งเดิมและความรู้ความเข้าใจทางการเมืองระหว่างกัน พวกเราจะสามารถค้นพบความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียนให้เกิดความรุ่งเรืองสืบต่อไป
 
การจัดตั้งการประชุมในครั้งนี้ ก็เพื่อคาดหวังที่จะให้เหล่าพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียน เชื่อมประสานเข้าด้วยกันใหม่อีกครั้ง เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือที่แนบแน่นยิ่งขึ้น และเพื่อส่งเสริมให้มุมมองของกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียน สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ภูมิภาคและก่อให้เกิดสันติสุขทั่วโลก
 
หลายปีมานี้ พวกเราได้สั่งสมผลสัมฤทธิ์มากมาย ทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การอนุรักษ์ระบบนิเวศ สื่อสิ่งพิมพ์และผลงานแปล รวมถึงการบ่มเพาะบุคลากรนานาชาติ ในปัจจุบัน นอกจากสำนักงานใหญ่ของการประชุมของกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียนที่ตั้งอยู่ในสาธารณรัฐปาเลาและสำนักเลขาธิการในกรุงไทเปซึ่งยังคงดำเนินการต่อไปแล้ว สถาบันอเมริกาในไต้หวันก็ได้เข้าร่วมการประชุมนี้เป็นครั้งแรก โดยคาดหวังที่จะผลักดันให้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ เข้าร่วมในการประชุมของกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียน ในฐานะผู้สังเกตการณ์อย่างเป็นทางการในอนาคตต่อไป