New Southbound Policy Portal

รมว.กต.ไต้หวันขอบคุณ Ms. Miriam Lexmann ประธานร่วมกลุ่ม IPAC ที่เป็นแกนนำรวบรวมสมาชิกรัฐสภายุโรป 41 คนร่วมลงนามในหนังสือเรียกร้อง เพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ EU

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 19 ม.ค. 65
 
เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ที่ผ่านมา ภายใต้การนำของ Ms. Miriam Lexmann ประธานร่วมสหภาพรัฐสภาของกลุ่มพันธมิตรจีน (Inter-Parliamentary Alliance on China, IPAC) รวบรวมสมาชิกรัฐสภายุโรปรวม 41 คน ได้ทำการร่วมลงนามในหนังสือเรียกร้องเพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพยุโรป (EU) โดยสาระสำคัญในหนังสือเรียกร้องดังกล่าวได้ประณามรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่พยายามสร้างแรงกดดันทางการเมืองและเศรษฐกิจต่อสาธารณรัฐลิทัวเนีย พร้อมเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ EU แสดงท่าทีที่ชัดเจนในการให้การสนับสนุนลิทัวเนีย พร้อมส่งมอบความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่ลิทัวเนียด้วย
 
หนังสือเรียกร้องฉบับนี้ระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรสินค้าที่ผลิตในลิทัวเนียและวัตถุดิบที่นำเข้าจากลิทัวเนีย ซึ่งไม่เพียงเป็นการละเมิดต่อกฎบัตรของ “องค์การการค้าโลก” (WTO) และระเบียบด้านการค้าระหว่างประเทศแล้ว ยังเป็นการละเมิดต่อหลักการยุโรปตลาดเดียว นอกจากนี้ เนื้อความในหนังสือเรียกร้องยังได้ระบุว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐบาลจีนแสดงพฤติกรรมข่มขู่ต่อประเทศสมาชิก EU โดยสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมลงนาม กล่าวว่า ประเทศสมาชิก EU ที่ต้องการสานสัมพันธ์กับไต้หวัน ภายใต้ค่านิยมด้านประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ระดับประเทศ มิควรได้รับการถูกกลั่นแกล้งจากประเทศใดๆ ในช่วงที่ผ่านมา ลิทัวเนียและไต้หวันตัดสินใจจัดตั้งสำนักงานตัวแทนรัฐบาลของแต่ละฝ่ายขึ้นในดินแดนระหว่างกัน แต่นั่นมิได้เป็นการท้าทายหลักการจีนเดียวแต่อย่างใด ซึ่งข้อตกลงในประเด็นนี้ได้รับการยืนยันใน “รายงานความร่วมมือและความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างไต้หวัน - EU” ที่ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภายุโรป เมื่อวันที่ 21 ต.ค. ปี 2021
 
สมาชิกรัฐสภาที่ร่วมลงนามในหนังสือเรียกร้องในครั้งนี้ เน้นย้ำว่า ต่อกรณีที่จีนแสดงพฤติกรรมข่มขู่ต่อลิทัวเนียและกลุ่มประเทศสมาชิก EU ควรเร่งดำเนินมาตรการต่อต้าน เพื่อสกัดกั้นการเบ่งอำนาจของรัฐบาลจีนที่ได้สร้างแรงกดดันให้กับลิทัวเนียและประเทศสมาชิกอื่นๆ
 
โดยหนังสือเรียกร้องฉบับนี้ได้รับการตอบสนองจากแกนนำ 5 ฝ่ายในรัฐสภายุโรปและสมาชิกรัฐสภายุโรปคนสำคัญจาก 18 ประเทศสมาชิก แสดงให้เห็นว่า การต่อต้านพฤติกรรมป่าเถื่อนของรัฐบาลจีน ได้กลายเป็นฉันทามติระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก EU โดยไม่แบ่งแยกสัญชาติและพรรคการเมือง ไต้หวันในฐานะที่เป็นพันธมิตรที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกับลิทัวเนีย จะเร่งเสริมสร้างความร่วมมือแบบทวิภาคีระหว่างไต้หวัน – ลิทัวเนียในเชิงลึกอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป