New Southbound Policy Portal
ทำเนียบประธานาธิบดี วันที่ 15 ก.พ. 65
เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 15 ก.พ. ประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ให้การต้อนรับ Dr. Edwin J. Feulner, Jr. ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเฮอริเทจ (Heritage Foundation) ซึ่งเป็นคลังสมองของสหรัฐอเมริกา โดยเมื่อช่วงที่ผ่านมา ทางมูลนิธิฯ ได้ประกาศรายงาน “ดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจประจำปี 2022” ผลปรากฏว่า ไต้หวันถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก ซึ่งสามารถรักษาอันดับเดิมของปีที่แล้วไว้ได้อย่างคงที่ โดยไต้หวันคาดหวังที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกลไกการบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอย่างกระตือรือร้น ตลอดจนต้องการคว้าโอกาสในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ “ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก” (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership, CPTPP) ปธน.ไช่ฯ คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Dr. Feulner และมูลนิธิเฮอริเทจ จะร่วมให้การสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน - สหรัฐฯ ในเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเร่งกระตุ้นการเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) และความตกลงด้านเศรษฐกิจดิจิทัล (DEA) ให้เกิดขึ้นในเร็ววัน
ปธน.ไช่ฯ กล่าวต้อนรับการเดินทางมาเยือนของ Dr. Feulner และ Mr. Anthony Kim ผู้จัดการด้านการวิจัย “ดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ” นอกจากนี้ ปธน.ไช่ฯ ยังได้แสดงความขอบคุณเป็นพิเศษต่อ Dr. Feulner และมูลนิธิเฮอริเทจ ที่ให้การสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน - สหรัฐฯ ให้เติบโตและก้าวหน้าอย่างมีเสถียรภาพ โดยเฉพาะมูลนิธิเฮอริเทจ ซึ่งเป็นองค์กรที่ยกย่องเชิดชูค่านิยมด้านประชาธิปไตยและเสรีภาพทางการตลาด อีกทั้งยังเป็นทิศทางการพัฒนาที่ไต้หวันให้ความสำคัญเป็นอย่างมากอีกด้วย
ปธน.ไช่ฯ แสดงความคิดเห็นว่า ผลการลงประชามติในปีที่ผ่านมา ประชาชนชาวไต้หวันต่างร่วมแสดงให้เห็นถึงความแน่วแน่ในอันที่จะเข้าร่วมองค์การระหว่างประเทศอย่างกระตือรือร้น
รายงาน “ดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจประจำปี 2022” ที่ประกาศโดยมูลนิธิเฮอริเทจ เมื่อวานนี้(15 ก.พ.) ไต้หวันถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก ซึ่งสามารถรักษาอันดับเดิมของปีที่แล้วไว้ได้อย่างคงที่ และเป็นรองเพียงสิงคโปร์และนิวซีแลนด์ในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกเท่านั้น ไต้หวันในฐานะสมาชิกขององค์การเศรษฐกิจและการค้าแบบพหุภาคีอย่าง องค์การการค้าโลก (WTO) และกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (APEC) คาดหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้าร่วมกลไกการบูรณาการเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอย่างกระตือรือร้น ด้วยเหตุนี้ ไต้หวันจึงได้เร่งคว้าโอกาสในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ “ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก” (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership, CPTPP)
Dr. Feulner เคยเดินทางมาเยือนไต้หวันครั้งแรกเมื่อ 40 ปีก่อน โดย Dr. Feulner และได้เป็นประจักษ์พยานการพัฒนาด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยของไต้หวัน จึงมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อการยึดมั่นในค่านิยมด้านประชาธิปไตยและเสรีภาพของประชาชนชาวไต้หวัน
Dr. Feulner กล่าวขณะปราศรัยว่า ตลอด 27 ปีที่ผ่านมา “มูลนิธิเฮอริเทจ” จะทำการประกาศรายงาน “ดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ” เป็นประจำทุกปี โดยอันดับของไต้หวันได้รับการพัฒนาและก้าวหน้าอย่างมีเสถียรภาพในทุกปี
มาตรฐานสูงสุดของสถานะเสรีภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมคือ "เสรีภาพ" ซึ่งในปีนี้เป็นครั้งแรกที่ไต้หวันได้รับการประเมินให้อยู่ในมาตรฐานดังกล่าว โดยไต้หวันได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับ 6 จาก 7 ประเทศทั่วโลก
ช่วงระยะเวลา 40 กว่าปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน - สหรัฐฯ ภายใต้พื้นฐานของ “กฎหมายความสัมพันธ์ไต้หวัน” ได้พัฒนาไปสู่การเป็นหุ้นส่วนที่มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ซึ่งการสนับสนุนไต้หวันจากรัฐบาลสหรัฐฯ โดยไม่แบ่งแยกฝักฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภาสหรัฐฯ หรือหน่วยงานสภาบริหารของสหรัฐฯ ยังคงดำเนินมาตราบจนปัจจุบัน ซึ่งนี่เป็นเจตจำนงของประชาชนชาวสหรัฐฯ และผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยเชื่อว่าไต้หวัน - สหรัฐฯ ควรธำรงรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เนื่องจากไต้หวันเป็นตัวแทนของค่านิยมที่สำคัญต่างๆ ในประชาคมโลก
Dr. Feulner กล่าวว่า ไต้หวันเป็นพันธมิตรและมิตรสหายที่สำคัญ อีกทั้งยังมีบทบาทที่สำคัญในแผนยุทธศาสตร์อินโด – แปซิฟิกของสหรัฐฯ อีกด้วย
Dr. Feulner ชี้ว่า เขาคาดหวังที่จะเห็นไต้หวัน – สหรัฐฯ ร่วมลงนาม “ความตกลงการค้าเสรี” (FTA) และ “ความตกลงด้านเศรษฐกิจดิจิทัล” (DEA) เช่นเดียวกับที่ปธน.ไช่ฯ ได้ระบุถึงในช่วงเริ่มต้น ควบคู่ไปกับการเร่งเสริมสร้างความสัมพันธ์แบบทวิภาคีระหว่างกันในเชิงลึกต่อไป