New Southbound Policy Portal

กิจกรรมการจับคู่ธุรกิจด้านการเกษตรอัจฉริยะ ระหว่างไต้หวัน - ไทย เปิดฉากขึ้นแล้ว กระทรวงเศรษฐการไต้หวันหวังขยายโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มประเทศเป้าหมายตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่

สำนักข่าว CNA วันที่ 24 ส.ค. 66
 
เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา กรมการค้าต่างประเทศ (BOFT) กระทรวงเศรษฐการ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยพัฒนาธุรกิจการค้า (Commerce Development Research Institute, CDRI) จัดกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจในด้านการเกษตรอัจฉริยะขึ้นในประเทศไทย โดยมีผู้ประกอบการไทย – ไต้หวัน จำนวน 50 ราย เข้าร่วมแลกเปลี่ยนกันในประเด็นต่างๆ อาทิ ระบบตรวจสอบสภาพแวดล้อมอัจฉริยะ เทคโนโลยีป้องกันแมลงศัตรูพืช และอุปกรณ์เครื่องมือการหว่านเมล็ดพืชรูปแบบอัจฉริยะ โดยหวังที่จะขยายโอกาสความร่วมมือระหว่างสองประเทศผ่านกิจกรรมในครั้งนี้
 
ในช่วงที่ผ่านมา BOFT ได้มอบหมายให้สถาบัน CDRI ตระเวณจัดโรดโชว์แผนโซลูชันรูปแบบอัจฉริยะตามโครงการ Wow! Taiwan Project อย่างกระตือรือร้น โดยกิจกรรม 2023 i-farming Solution Demo Day ได้เปิดฉากขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มผู้ประกอบการไต้หวัน เดินทางเข้าร่วมรวม 14 ราย ส่วนตัวแทนเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ มีจำนวน 33 ราย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกอบการ สมาคมชาวเกษตรกรอัจฉริยะ รวมไปถึงสมาคมการเกษตรและการประมงไทย - ไต้หวัน
 
บรรดาผู้ประกอบการไต้หวันที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ครอบคลุมหลากหลายแขนง อาทิ การตรวจสอบสภาพแวดล้อมอัจฉริยะ การตรวจวัดสเปกตรัม อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เทคโนโลยีการป้องกันแมลงศัตรูพืชทางชีวภาพ อุปกรณ์เครื่องมือสำหรับหว่านเมล็ดพืชรูปแบบอัจฉริยะ เป็นต้น
 
กิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ในช่วงเช้าได้ทำการจัดขึ้นในรูปแบบการจำลองถาม – ตอบ โดยเหล่าผู้ประกอบการไทยได้ชี้แจงสถานการณ์ในปัจจุบันของอุตสาหกรรมการเกษตรและปศุสัตว์ของไทย ซึ่งหลังจากที่รับฟังปัญหาในปัจจุบันที่กลุ่มเป้าหมายต้องเผชิญหน้าแล้ว บรรดาผู้ประกอบการไต้หวันต่างก็ทยอยนำเสนอแผนโซลูชันและสินค้าที่มีความเป็นไปได้ในการช่วยแก้ไขปัญหา ส่วนช่วงบ่ายเป็นการจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจ
 
ในที่นี้ขอหยิบยกตัวอย่างปัญหาที่ผู้ประกอบการไทยกำลังเผชิญหน้าอยู่ ณ ปัจจุบัน หลายปีมานี้ เกษตรกรไทยมมุ่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ อาทิ เมล็ดกาแฟ ดอกบุปผชาติและเมล็ดโกโก้ โดยฝ่ายไทยต้องการเรียนรู้จากผู้ประกอบการไต้หวันว่า เราจะสามารถบรรเทาการก่อกวนจากแมลงและวัชพืช ผ่านการตรวจสอบและควบคุมสภาพแวดล้อมในพื้นที่ได้อย่างไร
 
อีกทั้งหลายปีมานี้ ไทยยังเกิดกระแสการบริโภครูปแบบใหม่ ที่มุ่งเน้นการส่งตรงจากแหล่งผลิตสู่บนโต๊ะอาหาร โดยตัวแทนผู้ประกอบไทยชี้ว่า เพื่อการบริการส่งมอบผักผลไม้ที่สดใหม่ในทุกวัน ทำให้มีเกษตรกรรายย่อยเกิดใหม่เต็มพื้นที่รอบเมือง ซึ่งสินค้าประเภทผักและมะเขือเทศออร์แกนิกจากกลุ่มเกษตรรายย่อยเหล่านี้ ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายไทยจึงต้องการทราบว่า ผู้ประกอบการไต้หวันมีบริการเช่นนี้หรือไม่
 
ในด้านการปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ขณะนี้ ไทยกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาขาดแคลนแรงงาน ผู้ประกอบการไทยจึงต้องการทราบว่า ไต้หวันมีแผนแก้ไขปัญหาแบบอัตโนมัติที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ขนาดกลางและขนาดย่อมหรือไม่
 
BOFT หวังว่ากิจกรรมในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อมูลทรัพยากรระหว่างกัน เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มและโอกาสในการขยายตลาดไปสู่กลุ่มประเทศเป้าหมายตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่ และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไต้หวันสามารถขยายตลาดไปสู่กลุ่มประเทศเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ