New Southbound Policy Portal

กต.ไต้หวันขอบคุณกลุ่มประเทศพันธมิตรที่ร่วมเป็นกระบอกเสียงให้การสนับสนุนไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมใน UNFCCC ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 29

กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงสิ่งแวดล้อม วันที่ 13 พ.ย. 67
 
การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC COP ) ครั้งที่ 29 หรือการประชุม COP 29 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 11 – 22 พฤศจิกายน 2567 โดยคณะผู้แทนจากประเทศพันธมิตรอย่าง H.E. Hilda Heine ประธานาธิบดีสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ H.E. Feleti Penitala Teo นายกรัฐมนตรีตูวาลู และ H.E. Russell Mmiso Dlamini นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรเอสวาตินี ต่างร่วมเป็นกระบอกเสียงให้ไต้หวันในการประชุมระดับสูง (High Level Segment) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 12 พฤศจิกายน 2567 กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ขอขอบคุณ 3 ประเทศพันธมิตรข้างต้นที่ได้ให้การสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมในกลไกการบริหารจัดการวิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศด้วยวิธีการที่เป็นรูปธรรม
 
H.E. Hilda Heine ประธานาธิบดีสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ เน้นย้ำว่า ประชาคมโลกมิอาจสามารถแบกรับความเสียหายที่เกิดจากการกีดกันการเข้าร่วมของไต้หวันได้ เนื่องจากไต้หวันเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างหนักหน่วง ด้วยเหตุนี้ ไต้หวันจึงได้พัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีออกมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ไต้หวันจึงควรได้เข้าร่วมในการประชุมระดับนาชาติ
 
H.E. Feleti Penitala Teo นายกรัฐมนตรีตูวาลู กล่าวว่า ตูวาลูยึดมั่นในหลักการ “ไม่ละทิ้งผู้ใดไว้เบื้องหลัง” ที่กำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) จึงขอให้การสนับสนุนไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประชุม UNFCCC รวมไปถึงกิจกรรมของ UN และองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ
 
H.E. Russell Mmiso Dlamini นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรเอสวาตินี ระบุว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีความหมาย จำเป็นต้องตั้งมั่นอยู่ในหลักการไม่ละทิ้งประเทศใดไว้ข้างหลัง พร้อมร่วมเรียกร้องให้มีการเชิญไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมในแผนปฏิบัติการด้านการรับมือกับสภาพภูมิอากาศโดยเร็ววัน เพื่อส่งเสริมให้ไต้หวันอุทิศคุณประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
 
กต.ไต้หวันระบุจุดยืนอย่างชัดเจนว่า ไต้หวันยินดีที่จะแบกรับหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกของประชาคมโลก ควบคู่ไปกับการประสานความร่วมมือกับหุ้นส่วนประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน เพื่อร่วมสร้างคุณประโยชน์ที่ดีให้แก่การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศโลก
 
นอกจากนี้ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (ITRI) ของไต้หวัน – หมู่เกาะมาร์แชลล์ ยังได้ร่วมจัดการประชุมรอบนอก ภายใต้หัวข้อ “แนวทางการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์อย่างค่อยเป็นค่อยไปของเชื้อเพลิงฟอสซิล : การประยุกต์ใช้ทางเทคโนโลยีและนโยบายพื้นฐานทางการตลาด”  พร้อมเปิดให้ “องค์การพัฒนาความยั่งยืนระหว่างประเทศ” (International Institute for Sustainable Development, IISD) ซึ่งเป็นสื่อมวลชนหลักของการประชุม UNFCCC เข้าร่วมสัมภาษณ์ตลอดการประชุม
 
กระทรวงสิ่งแวดล้อม (Ministry of Environment, MOENV) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แถลงว่า เนื่องจากไต้หวันมิใช่ภาคีของอนุสัญญา UNFCCC การประชุมรัฐภาคีครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี องค์การนอกภาครัฐของไต้หวัน 11แห่ง ที่เป็นสมาชิกในอนุสัญญา UNFCCC ได้เข้าร่วมการประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์ และในปีนี้ได้มีการประชุมรอบนอกรวมทั้งสิ้น 7 รอบ
 
นอกจากนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทุกวงการร่วมจับตาความคืบหน้าการประชุม COP 29 ทาง MOENV จึงได้มีกำหนดการจัด “การสัมมนาว่าด้วยการยกระดับความมุ่งมั่นในการดำเนินแนวทางการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ COP29” ขึ้น ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายนเป็นต้นไป จึงขอเชิญชวนผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมในรูปแบบไฮบริด ที่มุ่งเน้นประเด็นหลักของการประชุม COP 29 โดยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องจะทำการไลฟ์สดผ่านช่องทางออนไลน์ จึงขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมรับชมได้ที่ : https://www.taiwancopforum.org/