New Southbound Policy Portal
กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 5 ธ.ค. 67
เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 5 ธันวาคม 2567 รองประธานาธิบดีเซียวเหม่ยฉินแห่งสาธาณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ให้การต้อนรับคณะตัวแทนจาก “คณะกรรมาธิการนโยบายการต่างประเทศแห่งชาติสหรัฐฯ” (National Committee on American Foreign Policy, NCAFP) โดยชี้ว่า ประชาชนชาวไต้หวันมุ่งธำรงปกป้องเสรีภาพและประชาธิปไตย และทำหน้าที่เป็นพลังแห่งความดีของโลกใบนี้ โดยรองปธน.ไล่ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นไต้หวันมุ่งอุทิศคุณประโยชน์ในระบบห่วงโซ่อุปทานโลก และเข้ามีส่วนร่วมในสังคมโลกอย่างมีความหมาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณที่ว่า “ไต้หวันช่วยได้” (Taiwan can help)
รองปธน.เซียวฯ กล่าวปราศรัยเป็นภาษาอังกฤษ โดยชี้ว่า เมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายที่สลับซับซ้อนจากทั้งในและต่างประเทศ ประชาชนชาวไต้หวันมุ่งปกป้องเสรีภาพและประชาธิปไตย ส่งผลให้เศรษฐกิจและการค้า มีการพัฒนาที่เจริญรุ่งเรืองตามไปด้วยอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการสร้างคุณประโยชน์ที่ไม่สามารถมีผู้ใดมาแทนที่ได้ในระบบห่วงโซ่อุปทานด้านเทคโนโลยีระดับสากล
รัฐบาลไต้หวันจะยังคงมุ่งมั่นในการปกป้องประเทศด้วยการพึ่งพาตนเอง ธำรงรักษาวิถีชีวิตรูปแบบประชาธิไตย ควบคู่ไปกับการขยายพื้นที่การเข้ามีส่วนร่วมในองค์การระหว่างประเทศของไต้หวัน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนชาวไต้หวันสัมผัสกับความมั่นคงและความเชื่อมโยงกับประชาคมโลกที่แน่นแฟ้น
ในช่วงบ่ายของวันเดียวกันนี้ รองปธน.เซียวฯ ยังได้ให้การต้อนรับคณะตัวแทน “สถาบันวิจัยนโยบายทางยุทธศาสตร์ออสเตรเลีย” (ASPI) โดยรองปธน.เซียวฯ คาดหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะแลกเปลี่ยนอภิปรายในประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสนใจร่วมกัน เพื่อธำรงปกป้องค่านิยมที่ยึดมั่นร่วมกัน ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างไต้หวัน – ออสเตรเลียในเชิงลึกต่อไป
รองปธน.เซียวฯ กล่าวว่า ออสเตรเลียเป็นหุ้นส่วนสำคัญของไต้หวัน ทั้งสองฝ่ายมุ่งเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องเสมอมา เนื่องจากไต้หวันเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของออสเตรเลีย และเป็นตลาดที่จัดซื้อผลิตภัณฑ์ทางพลังงานจากออสเตรเลียที่ใหญ่ที่สุด การแลกเปลี่ยนในด้านเศรษฐกิจและการค้าของทั้งสองฝ่าย จึงดำเนินไปอย่างใกล้ชิดและแนบแน่น นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังได้อุทิศคุณประโยชน์เป็นอย่างมาก ภายใต้กรอบความร่วมมือ Global Cooperation and Training Framework (GCTF) หลายปีมานี้ นอกจากสหรัฐฯ ออสเตรเลียและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสมาชิกรุ่นบุกเบิกแล้ว แคนาดาก็ได้เข้าสู่การประเทศสมาชิกอย่างเป็นทางการแล้วเช่นกัน
พวกเราต่างยึดมั่นในค่านิยมด้านประชาธิปไตย เสรีภาพและสิทธิมนุษยชน แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ทั่วโลก ย้ำเตือนให้เราตระหนักเสมอว่า เสรีภาพมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องทำอะไร พวกเราจึงจำเป็นต้องมุ่งมั่นธำรงรักษาค่านิยมเหล่านี้เอาไว้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป