New Southbound Policy Portal

รองนรม. สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ชี้ ในช่วงครึ่งแรกของปีหน้าจะเริ่มต้น "โครงการสมาร์ทเนชั่น 2.0" ฉบับใหม่ เพื่อสร้าง "เกาะเทคโนโลยีอัจฉริยะและสังคมดิจิทัลใหม่"

สภาบริหาร วันที่ 31 ธ.ค. 68
 
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2567 นางเจิ้งลี่จวิน รองนายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ทำหน้าที่เป็นประธานใน “การประชุมคณะทำงานส่งเสริมสมาร์ทเนชั่นแห่งสภาบริหาร ครั้งที่ 5” โดยรองนรม.เจิ้งฯ กล่าวว่า เพื่อตอบสนองกระแสเทคโนโลยี AI และรับมือกับความท้าทายรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการเผชิญหน้ากับการปรับโครงสร้างของระบบห่วงโซ่อุปทาน การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (NET ZERO) รวมไปถึงสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2568 สภาบริหารจึงได้เร่งดำเนินการตาม “แผนแม่บทใหม่ด้านสมาร์ทเนชั่น เวอร์ชัน 2.0” ซึ่งพัฒนาต่อยอดจาก “โครงการสมาร์ทเนชั่น” ซึ่งกำหนดระยะเวลาของภารกิจในช่วงระหว่างปี 2568 – 2571 โดยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นหน่วยงานต่างๆ ร่วมผลักดันภารกิจตามวิสัยทัศน์ “เกาะเทคโนโลยีอัจฉริยะ สังคมรูปแบบใหม่เชิงดิจิทัล” ที่แบ่งออกเป็น 4 มิติ ประกอบด้วย “เทคโนโลยีอัจฉริยะ อุตสาหกรรมอัจฉริยะ การบริหารรูปแบบอัจฉริยะ และการผสานผสานแบบอัจฉริยะ”
 
รองนรม.เจิ้งฯ เน้นย้ำว่า “แผนแม่บทรูปแบบใหม่ด้านสมาร์ทเนชั่น เวอร์ชัน 2.0” ถือเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม นำพาให้ไต้หวันก้าวไปสู่สังคมรูปแบบใหม่ในการพัฒนาทางดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี ขยายขอบเขตการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ผ่านซอฟต์แวร์และข้อมูล แก้ไขปัญหาทางสังคมด้วยดิจิทัลและเทคโนโลยี ยกระดับสวัสดิการในชีวิตประจำวันของประชาชน ทั้งนี้ เพื่อมุ่งบรรลุเป้าหมายนโยบาย “เศรษฐกิจนวัตกรรม ไต้หวันที่สมดุล และการเติบโตที่ยอมรับซึ่งกันและกัน” ที่ยื่นเสนอโดยคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งสภาบริหาร
 
รองนรม.เจิ้งฯ กล่าวว่า “โครงการสมาร์ทเนชั่น” กำหนดเกณฑ์การประเมินไว้ 6 ประการที่จะบรรลุตามเป้าหมายให้ได้ในปี 2568 โดยในจำนวนนี้ “ขอบเขตเศรษฐกิจดิจิทัล ขอบเขตเศรษฐกิจการบริการในรูปแบบดิจิทัล สัดส่วนของผู้ที่มีความสามารถในการแข่งขันเชิงดิจิทัล และอัตราการครอบคลุมเครือข่าย 5G นอกพื้นที่ชนบท” ต่างมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายแล้ว ส่วน “อัตราการเข้าถึงการบริการในยุคดิจิทัลไลฟ์ และโครงข่ายไฟเบอร์ความเร็ว 2Gbps” ก็อยู่ระหว่างการดำเนินการตามเป้าหมาย รองนรม.เจิ้งฯ จึงขอเรียกร้องให้ทุกหน่วยงานมุ่งดำเนินภารกิจตามแผ่นแม่บทข้างต้นอย่างต่อเนื่อง
 
สำหรับทิศทางการพัฒนาในลำดับต่อไปของการพัฒนาสมาร์ทเนชั่น รองนรม.เจิ้งฯ กล่าวว่า หนึ่งในแนวคิดหลักของ “โครงการความหวังของชาติ” ที่ ปธน.ไล่ชิงเต๋อ ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เสนอขึ้นมา คือ การแสวงหารูปแบบการขยายตัวทางเศรษฐกิจ “ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” เพื่อรับมือกับความท้าทายด้วยนวัตกรรม อาศัยเทคโนโลยีในการนำเสนอแผนโซลูชัน พลิกวิกฤตความท้าทายให้เป็นพลังขับเคลื่อนการขยายตัว นอกจากนี้ นรม.จั๋วหรงไท่ ยังได้เสนอเป้าหมายนโยบายว่าด้วย “เศรษฐกิจนวัตกรรม และสมาร์ทเนชั่น” ซึ่งมีนโยบายสำคัญที่ประกอบด้วย :  การพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ การควบคุมด้านความมั่นคง และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ซึ่งรวมอยู่ใน “5 อุตสาหกรรมหลักที่เชื่อถือได้”
 
“แผนแม่บทใหม่ด้านสมาร์ทเนชั่น เวอร์ชัน 2.0” มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับ “Smile Curve ของห่วงโซ่คุณค่า AI” โดยอาศัยข้อได้เปรียบในด้านการผลิตขั้นสูงที่มีอยู่แล้ว พร้อมดำเนินงานในสองทิศทางสำคัญ ประการแรกได้แก่ การพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยวางแผนล่วงหน้าในงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญ รวมถึงใช้การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อนสำหรับนวัตกรรม สำหรับประการที่สอง รัฐบาลจะมุ่งเน้นการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยความต้องการของสังคม โดยพัฒนาบริการนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์และข้อมูล เพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคตของสังคมในหลากหลายด้าน เช่น การศึกษา การแพทย์ การดูแล การพำนักอาศัย คมนาคมอัจฉริยะ เทคโนโลยีทางการเงิน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เมืองอัจฉริยะ การปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ ความยืดหยุ่นด้านการป้องกันภัยพิบัติ และรัฐบาลอัจฉริยะ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกมิติ
 
นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องเชื่อมโยงการพัฒนานวัตกรรมสู่การพัฒนาฟื้นฟูความหลากหลายของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้การสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางภาคอุตสาหกรรม อันจะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมร้อยแขนง โดยในจำนวนนี้ “การบริหารรูปแบบอัจฉริยะ” ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญ รองนรม.เจิ้งฯ จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพัฒนาดิจิทัล กระทรวงเศรษฐการ และคณะกรรมการพัฒนาประเทศชาติ ร่วมจัดตั้งระบบกฎหมายเชิงดิจิทัลที่สมบูรณ์ และโครงสร้างการบริหารข้อมูล

รองนายกรัฐมนตรีเจิ้งฯ ยังกล่าวว่า รัฐบาลต้องผลักดันการเติบโตด้วยนวัตกรรมให้ครอบคลุมถึงการฟื้นฟูและพัฒนาธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดเล็กในหลายมิติ พร้อมสนับสนุนการยกระดับและปรับเปลี่ยนรูปแบบของอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาในทุกภาคส่วน ในเรื่องนี้ "การบริหารจัดการอัจฉริยะ" ถือเป็นกุญแจสำคัญ โดยได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานข้ามกระทรวง ได้แก่ สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงพัฒนาดิจิทัล กระทรวงเศรษฐการ และคณะกรรมการพัฒนาแห่งชาติ เพื่อร่วมกันสร้างระบบกฎหมายดิจิทัลที่สมบูรณ์และโครงสร้างการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
 
รองนายกรัฐมนตรีเจิ้งฯ ยังขอให้สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำข้อเสนอจากคณะกรรมการขับเคลื่อนสมาร์ทเนชั่นที่ได้หารือในที่ประชุมมาพิจารณา รวมถึงการปรับปรุง "โครงการสมาร์ทเนชั่น 2.0" โดยเน้นในด้าน การเสริมสร้างคลังข้อมูลภาษา การพัฒนาเทคโนโลยีการเงิน การบ่มเพาะบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และการส่งเสริม AI ที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน พร้อมกันนี้ยังได้ย้ำให้รวบรวมความคิดเห็นจากคณะกรรมการที่ปรึกษาจากภาคประชาชนและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เพื่อนำมาปรับปรุงและแก้ไข "โครงการสมาร์ทเนชั่น 2.0" ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น