New Southbound Policy Portal
สภาบริหาร วันที่ 4 ม.ค. 68
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2568 นายจั๋วหรงไท่ นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เดินทางเยือนเมืองหนานโถว เพื่อเข้าร่วม “พิธีเปิดโครงการทะเลสาบเทียมเหนียวจุ่ยถาน (Niaozueitan Artificial Lake Project) ในเขตพื้นที่แม่น้ำอูซี” โดย นรม.จั๋วฯ หวังว่าโครงการก่อสร้างโรงผลิตน้ำประปาเหนียวจุ่ยถานในพื้นที่ปลายน้ำจะแล้วเสร็จในเร็ววัน พร้อมทั้งเดินหน้าดำเนินการตามแผน “โครงการไข่มุกเรียงร้อย” เพื่อสร้างเสถียรภาพในการจัดหาน้ำ และวางรากฐานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สมบูรณ์แบบสำหรับการพัฒนา "ศูนย์กลางความแม่นยำและความอัจฉริยะ" ในพื้นที่จางฮั่ว หนานโถว และหยุนหลิน
นรม.จั๋วฯ เห็นว่า ในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา กระทรวงเศรษฐการ สำนักงานทรัพยากรน้ำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุ่มงบประมาณ 21,950 ล้านเหรียญไต้หวัน ในการวางแผนก่อสร้างทะเลสาบเทียมเหนียวจุ่ย (Niaozueitan) โดยหวังที่จะสร้างประโยชน์ใน 3 ด้าน ประการแรกคือการลดปัญหาดินทรุดตัว ในอดีตพื้นที่ชายฝั่งทางตะวันตกมีการใช้น้ำบาดาลในปริมาณมากจนก่อให้เกิดปัญหาดินทรุด โครงการทะเลสาบเทียมเหนียวจุ่ยถานจึงได้สร้างทะเลสาบเทียมจำนวน 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่น้ำรวม 110 เฮกตาร์ หรือประมาณ 1 ใน 7 ของทะเลสาบสุริยันจันทรา โดยสามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 14.5 ล้านตัน เพื่อนำน้ำจากแม่น้ำอูซีที่อุดมสมบูรณ์ส่งไปยังพื้นที่ปลายน้ำ เช่น จางฮั่วและเฉ่าถุนในหนานโถว โดยสามารถจ่ายน้ำให้จางฮั่วได้วันละ 210,000 ตัน และวันละ 40,000 ตันให้เฉ่าถุน โดยเป็นการใช้น้ำบนผิวดินแทนการใช้น้ำบาดาล อันจะช่วยลดผลกระทบจากการใช้น้ำบาดาลเกินความจำเป็น
นรม.จั๋วฯ ยังชี้ว่า โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ “เพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดหาน้ำ” โดยสามารถบริหารจัดการแหล่งน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดหาน้ำให้กับพื้นที่หนานโถวและจางฮั่ว โดยเฉพาะในปี 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์น้ำทั่วทั้งไต้หวันอยู่ในภาวะตึงเครียด ทำให้ทะเลสาบเทียมเหนียวจุ่ยถานซึ่งเริ่มจ่ายน้ำล่วงหน้า มีบทบาทสำคัญในการบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคกลาง และช่วยเติมเต็มความต้องการน้ำในช่วงวิกฤตอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ โครงการนี้ยังคำนึงถึง “การพัฒนาที่ยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม” โดยมีการปลูกต้นไม้จำนวน 6,600 ต้นในพื้นที่ทะเลสาบ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการท่องเที่ยวและพักผ่อน พร้อมทั้งพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจสีเขียวที่ลดการปล่อยคาร์บอน และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
โครงการนี้ยังมีจุดเด่นที่สำคัญอีกสองประการ ประการแรกคือ “การคืนประโยชน์ให้กับชุมชน” โดยรายได้จากการขายวัสดุดินและหินที่ได้จากการก่อสร้างพื้นที่ทะเลสาบ จำนวน 185 ล้านเหรียญไต้หวัน ถูกนำมาใช้สนับสนุนค่าอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในโรงเรียนประถมและมัธยมในหนานโถว นอกจากนี้ ยังมีการจัดสรรงบประมาณจำนวน 200 ล้านเหรียญไต้หวันเพื่อช่วยเทศบาลตำบลเฉ่าถุนในการพัฒนาถนน สะพาน การระบายน้ำ และปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณอีก 300 ล้านเหรียญไต้หวันเพื่อช่วยเหลือเทศบาลเฉ่าถุนและเมืองหนานโถวในการดำเนินการกำจัดและขนย้ายขยะจากบ่อขยะเฉ่าถุน ประการที่สองคือ “กองทุนปฏิบัติการทรัพยากรน้ำ” สำหรับการใช้งบประมาณสาธารณะ โดยที่ตำบลเฉ่าถุนในเมืองหนานโถว มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ในการขอรับการสนับสนุน จึงจะได้รับเงินอุดหนุนจำนวน 2.6 ล้านเหรียญไต้หวันในปี 2570 และ 5.2 ล้านบาทในปี 2571 ตามลำดับ
สำหรับไฮไลท์ประการที่ 2 คือการจัดตั้งแพลตฟอร์มทางการเมืองที่โปร่งใส ด้วยการจัดทำการประเมินราคาภายใต้หลักการยุติธรรม โปร่งใสและเปิดเผย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคว้าสิทธิเหนือพื้นดิน โดยนรม.จั๋วฯ กล่าวว่า ไฮไลท์ทั้ง 3 ประการข้างต้นถือเป็นหลักการที่รัฐบาลจะมุ่งผลักดันโครงสร้างพื้นฐานเชิงสาธารณูปโภคสีเขียวทั่วทุกพื้นที่ในไต้หวันต่อไปในอนาคต จึงหวังที่จะเห็นกระทรวงเศรษฐการยึดประสบการณ์ที่เป็นต้นแบบในครั้งนี้ เพื่อนำไปอ้างอิงและประยุกต์ใช้ในโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
จุดเด่นประการที่สองของโครงการนี้คือการจัดตั้ง “แพลตฟอร์มเพื่อความโปร่งใส” โดยใช้วิธีการประเมินราคาที่เป็นธรรม โปร่งใส และเปิดเผยในการจัดซื้อที่ดินด้วยการเจรจา ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการได้สิทธิเหนือที่ดิน ซึ่ง นรม.จั๋วฯ ชี้ว่า หลักการทั้งสามประการที่กล่าวมานี้จะเป็นแนวทางสำหรับรัฐบาลในการผลักดันโครงการพลังงานสีเขียวทั่วไต้หวันในอนาคต พร้อมทั้งแสดงความหวังว่ากระทรวงเศรษฐการจะนำประสบการณ์ความสำเร็จจากโครงการทะเลสาบเทียมเหนียวจุ่ยถานมาใช้เป็นต้นแบบในการดำเนินโครงการอื่นๆ ต่อไป