ในครั้งนี้ เราจะขี่จักรยานผ่านนครไทจงในภาคกลางของไต้หวัน เพื่อสัมผัสประสบการณ์และวัฒนธรรมการขี่จักรยานแบบใหม่กัน
ในครั้งนี้ เราจะขี่จักรยานผ่านนครไทจงในภาคกลางของไต้หวัน เพื่อสัมผัสประสบการณ์และวัฒนธรรมการขี่จักรยานแบบใหม่กัน
“ถ้ามีจักรยานสักคัน ก็ไม่เสียชาติเกิด” นี่คือคำพูดของ มาร์ค ทเวน นักเขียนชื่อดังชาวสหรัฐฯ ซึ่งชั่วชีวิตของเขาได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัยและท่องเที่ยวไว้มากมาย เมื่อเทียบกับในสมัยนั้นแล้ว ปัจจุบัน การเดินทางมีความสะดวกรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ามาก ทำให้ผู้คนคำนึงถึงแต่การไปถึงจุดหมายให้เร็วที่สุด จนค่อย ๆ ลืมไปว่า เรายังสามารถดื่มด่ำไปกับทิวทัศน์ตลอดสองข้างทางได้ด้วย ในครั้งนี้ เราจะใช้จักรยานสองล้อท่องเที่ยวไปในดินแดนของเมืองอี๋หลาน ด้วยความเร็วแบบพอดีไม่รีบร้อน
หยุนหลินเป็นเมืองเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวัน ความรู้สึกของนักปั่นจักรยานที่มีต่อเมืองหยุนหลิน หลังจากที่ได้ปั่นจักรยานสองล้อเลียบธารน้ำจากท้องทุ่งนามุ่งหน้าเข้าสู่ตำบลเล็ก ๆ แล้วก็ปั่นจากตำบลเล็ก ๆ วนกลับไปยังทุ่งนา ก็คือ กลิ่นอายของใบพืชผักสดผสมผสานกับกลิ่นไอดิน รวมถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การสำรวจ
ไต้หวันได้รับสมญานามว่า “อาณาจักรแห่งจักรยาน” ซึ่งจักรยานไม่ได้มีไว้สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังเป็นยานพาหนะเพื่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นด้วย ดังนั้นการจัดทริปปั่นจักรยานจึงถือเป็นสิ่งที่คุ้มค่าสำหรับนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการปั่นข้ามเมือง ปั่นแบบสโลว์ไลฟ์ในพื้นที่ชนบท หรือปั่นท้าทายขึ้นไปบนภูเขาสูง 3,000 เมตร จักรยานสามารถพาเราไปพานพบการเดินทางที่แสนมหัศจรรย์
ในปี ค.ศ. 2022 อุตสาหกรรมการผลิตจักรยานและชิ้นส่วนของไต้หวันมีมูลค่าเกินกว่า 2 แสนล้านเหรียญไต้หวัน เฉพาะการผลิตชิ้นส่วนจักรยานมีมูลค่า 120,000 ล้านเหรียญไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนราว 60% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไต้หวันเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ของสหรัฐอเมริกาและจีน และเป็นอันดับ 2 ของสหภาพยุโรป โรงงานชิ้นส่วนจักรยานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่ไทจงและจางฮั่ว มีห่วงโซ่การผลิตที่ครบวงจร เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถตอบสนองต่อความต้องการลูกค้าได้ดี โดยที่โรงงานชิ้นส่วนจักรยานในประเทศอื่นทั่วโลกไม่สามารถเทียบเทียมได้
Merriam-Webster พจนานุกรมชื่อดังจากสหรัฐอเมริกา ยกให้คำว่า “authentic” เป็น “คำแห่งปี ค.ศ. 2023” สะท้อนให้เห็นว่าในยุคสมัยที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เฟื่องฟู ผู้คนที่ต้องอาศัยอยู่ท่ามกลางสังคมที่แยกไม่ออกว่าอะไรคือของจริงหรือถูกสร้างขึ้น ต่างแสวงหาความ “Authentic” หรือ สิ่งที่ “เป็นของแท้” มากยิ่งขึ้น
การที่โลกรู้จักไต้หวัน มีความเกี่ยวพันกับฟิลิปปินส์ไม่น้อย ในปี ค.ศ. 1571 ประเทศสเปนเข้ายึดครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ใช้กรุงมะนิลาเป็นศูนย์กลางในการค้าขาย และเริ่มต้นเส้นทางเดินเรือเพื่อการค้าผ่านไต้หวัน ทำให้ไต้หวันเริ่มปรากฏชื่อขึ้นมาบนเส้นทางเดินเรือของโลก
มนุษย์เรานั้นชอบทานของหวานโดยสัญชาตญาณ และขนมหวานมีพลังที่ทำให้เรานึกถึงความทรงจำที่ดีและช่วงเวลาที่มีความสุขของชีวิต ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขนมหวานสไตล์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลากหลายชนิดถูกวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าและท้องตลาด สำหรับคนไต้หวันส่วนใหญ่แล้ว อาจจะเป็นขนมที่มีรสชาติแปลกใหม่ แต่สำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่มาตั้งรกรากในไต้หวันกลุ่มแรก ๆ ขนมเหล่านี้เป็นสิ่งเตือนใจให้นึกถึงบ้านเกิด
ด้วยอานิสงส์ของกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ ทำให้ของหวานและขนมขบเคี้ยวของผู้คนในทุกวันนี้ มีมากจนทำให้รู้สึกตาลาย แถมยังมาจากทั่วทุกมุมโลกอีกต่างหาก แต่ในยุคสมัยที่สินค้ายังขาดแคลน คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า ของหวานและขนมขบเคี้ยวของคนโบราณมีหน้าตาอย่างไร? รสชาติเป็นอย่างไร? และมีวิวัฒนาการอย่างไร?
เมื่อหั่นขนมเปี๊ยะชิ้นใหญ่ จึงพบว่าไส้ถั่วแดงด้านในมีหมูหย็องกับโมจิผสมอยู่ด้วย ในสมองจึงเกิดความสับสนขึ้นมาทันทีว่า รสเค็มกับรสหวานจะมาอยู่รวมกันในขนมอบชิ้นเดียวได้จริงหรือ?