ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
สถาบันอุตสาหกรรมสารสนเทศวิจัยและพัฒนาผู้ช่วยอัจฉริยะ ตอบคำถามและแจ้งเตือนอัตโนมัติโดยเทคโนโลยี AI
2019-02-13

เครื่องมือการสร้างและบริหารข้อมูลในแต่ละสาขาอาชีพที่ DSI ได้คิดค้นวิจัยออกมา หากนำมาประยุกต์ใช้กับการบริการอัจฉริยะ  จะสามารถจัดการกับคำถามที่คลุมเครือได้ โดยสามารถใช้วิธีถามกลับตามโครงสร้างข้อมูล ผ่านการโต้ตอบหลายครั้ง เพื่อที่ระบบจะได้ตอบกลับอย่างแม่นยำ ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนในการว่าจ้างพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและลดเวลาในการสอบถาม อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ผู้บริโภคอีกด้วยภาพจำลองการตอบคำถามลูกค้าด้วยระบบบริการอัจฉริยะ  ภาพจากสถาบันอุตสาหกรรมสารสนเทศ

เครื่องมือการสร้างและบริหารข้อมูลในแต่ละสาขาอาชีพที่ DSI ได้คิดค้นวิจัยออกมา หากนำมาประยุกต์ใช้กับการบริการอัจฉริยะ จะสามารถจัดการกับคำถามที่คลุมเครือได้ โดยสามารถใช้วิธีถามกลับตามโครงสร้างข้อมูล ผ่านการโต้ตอบหลายครั้ง เพื่อที่ระบบจะได้ตอบกลับอย่างแม่นยำ ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนในการว่าจ้างพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและลดเวลาในการสอบถาม อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ผู้บริโภคอีกด้วย ภาพจำลองการตอบคำถามลูกค้าด้วยระบบบริการอัจฉริยะ ภาพจากสถาบันอุตสาหกรรมสารสนเทศ


สำนักข่าวCNA วันที่11ก.พ.62

 

สถาบันวิจัยนวัตกรรมบริการดิจิทัล (Digital Service Innovation Institute ,DSI)  หน่วยงานภายใต้สังกัดของสถาบันอุตสาหกรรมสารสนเทศ (Institute for Information Industry ,III) ได้ทำการวิจัยและพัฒนาซอฟแวร์ผู้ช่วยอัจฉริยะ ใช้เทคโนโลยีAIเพื่อช่วยประมวลผลข้อมูล แล้วแปรเป็นโครงสร้างข้อมูลองค์กร เทคนิคนี้สามารถประยุกต์ใช้ในสาขาการให้บริการดิจิทัล ระบบจะตอบสนองและแจ้งเตือนแผนการเดินทางของคุณโดยอัตโนมัติ

 

DSI ชี้แจงว่า การวิจัยและพัฒนาผู้ช่วยอัจฉริยะที่พร้อมไปด้วยคลังโครงสร้างข้อมูล เพื่อให้การตอบสนองและการให้บริการ เป็นไปอย่างคล่องแคล่ว ซอฟแวร์ผู้ช่วยอัจฉริยะนี้ รวบรวมไว้ซึ่งการประมวลภาษาธรรมชาติ (NLP) กลไกการตีความของภาษา การสนทนาหลายฝ่าย การตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อม การวิเคราะห์สภาพจิตใจ และลักษณะนิสัยเฉพาะตัว เป็นต้น

 

DSI ระบุว่า ผู้ช่วยฉริยะในแบบธรรมดาทั่วไป คือการเชื่อมต่อโปรแกรมกับเว็บไซต์(API) แล้วนำข้อมูลจากในเว็ปไซต์นั้นๆมาประกอบเป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อการตอบสนอง หากจะต้องตอบคำถามที่มีความยึดหยุ่นไปจากข้อมูลเดิม ก็จำเป็นต้องพึ่งเทคนิคที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

 

ในทางเทคนิค เทคโนโลยีAIจะต้องนำเอาข้อมูลโครงสร้างที่ไม่มีรูปแบบตายตัว เช่นเอกสารข้อมูล เว็บไซต์หรือแม้กระทั่งข้อมูลในสื่อมัลติมีเดีย แปรเป็นโหมดที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ หรือการสร้างโครงสร้างข้อมูลองค์กรขึ้นมาใหม่

 

โครงสร้างข้อมูลได้มาจากการคัดเอาคีย์เวริด์สำคัญในข้อมูลทุกฉบับ ระบบtagและความเกี่ยวพันธ์ระหว่างคำศัพท์ต่อคำศัพท์ สร้างโครงสร้างข้อมูลที่ประกอบทั้งความสัมพันธ์ของบริบทแวดล้อมอย่างมนุษย์ เรื่องราวและสรรพสิ่งเข้าไว้ด้วยกัน

 

ในปัจจุบันนี้ ผู้ช่วยอัจฉริยะของ DSI ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจการค้าปลีก การเงิน การแพทย์ เช่นการสอบถามข้อมูลสิทธิ์พิเศษของบัตรเครดิต การสอบถามรายละเอียดสินค้า และการสอบถามข้อมูลเชิงแพทย์ เทคนิคดังกล่าวได้รับการใช้งานจริงจากหลายบริษัท ในอนาคตจะทำการเชื่อมต่อกับสื่อมัลติมีเดียและเปิดให้บริการโครงสร้างข้อมูลต่อสาธารณชน เพื่อให้ทุกสาขาอาชีพนำเอาเทคนิคนี้ไปประยุกต์ใช้ในการบริการดิจิทัลด้านอื่นๆ