ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
Dr. Kunal นักวิชาการชาวอินเดียในไต้หวัน สร้างคุณประโยชน์ด้านการรักษาโรคมะเร็ง ได้รับอนุญาตให้ถือครองบัตรถิ่นอยู่ถาวรในไต้หวัน
2020-08-24
New Southbound Policy。Dr. Kunal Nepali ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยการแพทย์ไทเป (Taipei Medical University, TMU) ซึ่งเป็นชาวอินเดีย ได้มุ่งมั่นทำการวิจัยยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคเก๊าท์ และภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ในระหว่างที่พำนักอยู่ในไต้หวันตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งได้สร้างคุณประโยชน์ที่สำคัญด้านการรักษาโรคมะเร็งและโรคเก๊าท์แบบดั้งเดิมให้กับแวดวงการแพทย์ในไต้หวัน ด้วยเหตุนี้ Dr. Kunal จึงได้รับอนุญาตให้ถือครองใบถิ่นที่อยู่ถาวร (ภาพจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง)
Dr. Kunal Nepali ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยการแพทย์ไทเป (Taipei Medical University, TMU) ซึ่งเป็นชาวอินเดีย ได้มุ่งมั่นทำการวิจัยยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคเก๊าท์ และภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ในระหว่างที่พำนักอยู่ในไต้หวันตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งได้สร้างคุณประโยชน์ที่สำคัญด้านการรักษาโรคมะเร็งและโรคเก๊าท์แบบดั้งเดิมให้กับแวดวงการแพทย์ในไต้หวัน ด้วยเหตุนี้ Dr. Kunal จึงได้รับอนุญาตให้ถือครองใบถิ่นที่อยู่ถาวร (ภาพจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง)

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง วันที่ 23 ส.ค. 63

 

เมื่อวันที่ 23 ส.ค. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แถลงว่า Dr. Kunal Nepali ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยการแพทย์ไทเป (Taipei Medical University, TMU) ซึ่งเป็นชาวอินเดีย ได้มุ่งมั่นทำการวิจัยยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคเก๊าท์ และภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ในระหว่างที่พำนักอยู่ในไต้หวันตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งได้สร้างคุณประโยชน์ที่สำคัญด้านการรักษาโรคมะเร็งและโรคเก๊าท์แบบดั้งเดิมให้กับแวดวงการแพทย์ในไต้หวัน โดยในช่วงที่ผ่านมา Dr. Kunal ได้รับอนุญาตให้ถือครองใบถิ่นที่อยู่ถาวร (Alien Permanent Resident Certificate, APRC) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว


 

สนง.ตรวจคนเข้าเมือง ชี้แจงว่า ผู้ที่จะได้รับอนุญาตให้ถือครอง APRC ต้องเป็นบุคลากรต่างชาติที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับไต้หวัน นักธุรกิจต่างชาติที่มีการลงทุนที่สำคัญในไต้หวัน หรือชาวต่างชาติที่สร้างคุณูปการที่สำคัญให้กับไต้หวัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรต่างชาติที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขาต่างๆ พำนักในไต้หวันแบบถาวร โดยกลุ่มบุคคลข้างต้นจะได้รับอนุญาตให้ถือครอง APRC หลังจากที่คณะกรรมการตรวจสอบและนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในแวดวงสาขานั้นๆ ได้ร่วมลงมติเห็นชอบแล้ว ซึ่งผู้ที่ได้รับอนมุัติไม่จำเป็นต้องพำนักในไต้หวันติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี ตราบจนปัจจุบัน มีผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ถือครอง APRC ได้ รวมทั้งสิ้น 119 คน


 

Dr. Kunal ที่ได้รับอนุญาตให้ถือครอง APRC ในครั้งนี้ มีประสบการณ์ด้านการวิจัยและพัฒนายา มาเป็นเวลากว่า 10 ปี สนง.ตรวจคนเข้าเมืองระบุว่า Dr. Kunal สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย Punjab Technical University ของอินเดีย จากนั้นในปี 2014 ได้เข้าเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย Guru Nanak Dev ของอินเดีย โดยในเดือนตุลาคมของปีเดียวกันนั้น เขาได้ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานมาพำนักในไต้หวัน


 

Dr. Kunal กล่าวว่า แรงบันดาลใจที่ผลักดันให้เขาคิดจะก้าวเดินทางสู่ต่างประเทศ คือ เขาต้องการเข้าศึกษาเพิ่มเติมในศาสตร์ด้านเภสัชกรรม เพื่อสะสมความรู้ความเชี่ยวชาญเพิ่มเติม ในฐานะที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอาจารย์และนักวิจัย ด้วยเหตุนี้ เขาจึงได้สรรหาผลงานวิชาการของนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการที่มีผลงานโดดเด่นในระดับนานาชาติ มาอ่านทำความเข้าใจ โดยในจำนวนนี้ ผลงานวิจัยด้านแนวทางการรักษาโรคมะเร็งของศาสตราจารย์หลิวจิ่งผิง อาจารย์ของ TMU ได้ดึงดูดความสนใจของ Dr. Kunal เป็นอย่างมาก เขาจึงตัดสินใจเดินทางมาไต้หวันและเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในทีมวิจัยของศ. หลิวฯ หลังจากที่ Dr. Kunal เข้ามาพำนักและทำความรู้จักกับไต้หวันอย่างลึกซึ้ง ก็รู้สึกชื่นชอบในวัฒนธรรมและประเพณีอันหลากหลายของไต้หวันเป็นอย่างมาก


 

สนง.ตรวจคนเข้าเมือง ชี้ว่า ในปัจจุบัน Dr. Kunal ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ในคณะเภสัชศาสตร์ของ TMU โดยในระหว่างที่พำนักอยู่ในไต้หวัน เขาได้สร้างคุณประโยชน์ด้านการวิจัยและพัฒนายาที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคเก๊าท์ และภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ซึ่งนอกจากจะสร้างคุณประโยชน์ที่สำคัญด้านการรักษาโรคมะเร็งและโรคเก๊าท์แบบดั้งเดิม ให้กับแวดวงการแพทย์ในไต้หวันแล้ว ยังได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยจำนวนมาก ตลอดจนผลงานวิจัยของเขา ยังเป็นพื้นฐานด้านการวิจัยให้กับนักวิจัยรุ่นหลังต่อไป ด้วยเหตุนี้ เขาจึงได้รับอนุญาตให้ถือครองบัตร APRC ของไต้หวันได้อย่างเต็มภาคภูมิ