ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ออเดรีย ถัง รมว.ดิจิทัลไต้หวัน ร่วมพูดคุยกับ รมช.ความเท่าเทียมทางเพศสวีเดน ในการประชุมออนไลน์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของสตรี
2021-03-22
New Southbound Policy。ออเดรีย ถัง รมว.ดิจิทัลไต้หวัน ร่วมพูดคุยกับ รมช.ความเท่าเทียมทางเพศสวีเดน ในการประชุมออนไลน์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของสตรี
ออเดรีย ถัง รมว.ดิจิทัลไต้หวัน ร่วมพูดคุยกับ รมช.ความเท่าเทียมทางเพศสวีเดน ในการประชุมออนไลน์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของสตรี

กระทรวงการต่างประเทศไต้หวัน วันที่ 19 มี.. 64

 

เพื่อตอบรับกับการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี ครั้งที่ 65 (CSW65) ซึ่งถือเป็นกิจกรรมใหญ่ประจำปีของวงการสตรีนานาชาติ กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาและส่งเสริมสิทธิสตรี (Foundation of Women’s Rights Promotion and Development: FWRPD) ซึ่งเป็นองค์กร NGOs ของไต้หวัน จัดการประชุมออนไลน์ว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของสตรี (Accelrerating Women's Economic Empowerment) เมื่อค่ำวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา โดยเชิญตัวแทนจากรัฐบาลและผู้นำของ NGOs จากไต้หวัน สวีเดน สหรัฐฯ และโคโซโว มาประชุมร่วมกันผ่านวีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านบทบาทความสำคัญของความเท่าเทียมทางเพศในด้านการพัฒนาสังคมในยุคปัจจุบัน

 

ออเดรีย ถัง รัฐมนตรีดิจิทัลของไต้หวันชี้ว่า ไต้หวันเป็นประเทศแรกในเอเชียที่อนุญาตให้มีการจดทะเบียนสมรสของบุคคลเพศเดียวกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ระดับความเท่าเทียมทางเพศก็สูงเป็นอันดับที่ 6 ของโลก และถือเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย นี่คือผลสำเร็จจากความพยายามร่วมกันอย่างต่อเนื่องของภาครัฐและประชาสังคม ไต้หวันมีระบบประกันสุขภาพและความสะดวกรวดเร็วของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างผลสำเร็จอันโดดเด่นในการป้องกันโรคระบาด หากแต่ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดก็มีผู้ก่อตั้งธุรกิจสตรีที่โดดเด่นเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

 

ด้าน Ms. Karin Strandås รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศของสวีเดน ก็อธิบายว่า สวีเดนได้ผลักดันให้ภาครัฐก้าวไปสู่การเป็นรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับสิทธิสตรี และนำเอาความเท่าเทียมทางเพศมาใช้เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินนโยบายสาธาณะ เพื่อรับประกันความเท่าเทียมทางเพศในการเข้าถึงโอกาสและทรัพยากร พร้อมชี้ว่า ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมในการทำงานของสตรี และปรับปรุงโครงสร้างที่ไม่สอดคล้องกับความเท่าเทียม เพื่ออนาคตที่ดีกว่าของมวลมนุษยชาติ

 

พญ.หลินจิ้งอี๋ เอกอัตรราชทูตผู้แทนพิเศษ ของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ก็ชี้ว่า จำนวนสมาชิกสภานิติบัญญัติของไต้หวันที่เป็นสตรีมีสัดส่วนร้อยละ 42 เป็นรองเพียงสวีเดนที่มีสัดส่วนผู้แทนราษฎรสตรีมากที่สุดในโลก (ร้อยละ 47) ซึ่งถือว่ามีความเพียงพอที่จะสอดแทรกแนวคิดจากมุมมองด้านความเท่าเทียมทางเพศในระหว่างการร่างนโยบายต่างๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมซึ่งมีโครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับความเท่าเทียมต่อไป