ทำเนียบประธานาธิบดี วันที่ 15 ก.พ. 65
เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 15 ก.พ. ประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ให้การต้อนรับ Dr. Edwin J. Feulner, Jr. ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเฮอริเทจ (Heritage Foundation) ซึ่งเป็นคลังสมองของสหรัฐอเมริกา โดยเมื่อช่วงที่ผ่านมา ทางมูลนิธิฯ ได้ประกาศรายงาน “ดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจประจำปี 2022” ผลปรากฏว่า ไต้หวันถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก ซึ่งสามารถรักษาอันดับเดิมของปีที่แล้วไว้ได้อย่างคงที่ โดยไต้หวันคาดหวังที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกลไกการบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอย่างกระตือรือร้น ตลอดจนต้องการคว้าโอกาสในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ “ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก” (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership, CPTPP) ปธน.ไช่ฯ คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Dr. Feulner และมูลนิธิเฮอริเทจ จะร่วมให้การสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน - สหรัฐฯ ในเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเร่งกระตุ้นการเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) และความตกลงด้านเศรษฐกิจดิจิทัล (DEA) ให้เกิดขึ้นในเร็ววัน
ปธน.ไช่ฯ กล่าวต้อนรับการเดินทางมาเยือนของ Dr. Feulner และ Mr. Anthony Kim ผู้จัดการด้านการวิจัย “ดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ” นอกจากนี้ ปธน.ไช่ฯ ยังได้แสดงความขอบคุณเป็นพิเศษต่อ Dr. Feulner และมูลนิธิเฮอริเทจ ที่ให้การสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน - สหรัฐฯ ให้เติบโตและก้าวหน้าอย่างมีเสถียรภาพ โดยเฉพาะมูลนิธิเฮอริเทจ ซึ่งเป็นองค์กรที่ยกย่องเชิดชูค่านิยมด้านประชาธิปไตยและเสรีภาพทางการตลาด อีกทั้งยังเป็นทิศทางการพัฒนาที่ไต้หวันให้ความสำคัญเป็นอย่างมากอีกด้วย
ปธน.ไช่ฯ แสดงความคิดเห็นว่า ผลการลงประชามติในปีที่ผ่านมา ประชาชนชาวไต้หวันต่างร่วมแสดงให้เห็นถึงความแน่วแน่ในอันที่จะเข้าร่วมองค์การระหว่างประเทศอย่างกระตือรือร้น
รายงาน “ดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจประจำปี 2022” ที่ประกาศโดยมูลนิธิเฮอริเทจ เมื่อวานนี้(15 ก.พ.) ไต้หวันถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก ซึ่งสามารถรักษาอันดับเดิมของปีที่แล้วไว้ได้อย่างคงที่ และเป็นรองเพียงสิงคโปร์และนิวซีแลนด์ในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกเท่านั้น ไต้หวันในฐานะสมาชิกขององค์การเศรษฐกิจและการค้าแบบพหุภาคีอย่าง องค์การการค้าโลก (WTO) และกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (APEC) คาดหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้าร่วมกลไกการบูรณาการเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอย่างกระตือรือร้น ด้วยเหตุนี้ ไต้หวันจึงได้เร่งคว้าโอกาสในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ “ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก” (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership, CPTPP)
Dr. Feulner เคยเดินทางมาเยือนไต้หวันครั้งแรกเมื่อ 40 ปีก่อน โดย Dr. Feulner และได้เป็นประจักษ์พยานการพัฒนาด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยของไต้หวัน จึงมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อการยึดมั่นในค่านิยมด้านประชาธิปไตยและเสรีภาพของประชาชนชาวไต้หวัน
Dr. Feulner กล่าวขณะปราศรัยว่า ตลอด 27 ปีที่ผ่านมา “มูลนิธิเฮอริเทจ” จะทำการประกาศรายงาน “ดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ” เป็นประจำทุกปี โดยอันดับของไต้หวันได้รับการพัฒนาและก้าวหน้าอย่างมีเสถียรภาพในทุกปี
มาตรฐานสูงสุดของสถานะเสรีภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมคือ "เสรีภาพ" ซึ่งในปีนี้เป็นครั้งแรกที่ไต้หวันได้รับการประเมินให้อยู่ในมาตรฐานดังกล่าว โดยไต้หวันได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับ 6 จาก 7 ประเทศทั่วโลก
ช่วงระยะเวลา 40 กว่าปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน - สหรัฐฯ ภายใต้พื้นฐานของ “กฎหมายความสัมพันธ์ไต้หวัน” ได้พัฒนาไปสู่การเป็นหุ้นส่วนที่มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ซึ่งการสนับสนุนไต้หวันจากรัฐบาลสหรัฐฯ โดยไม่แบ่งแยกฝักฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภาสหรัฐฯ หรือหน่วยงานสภาบริหารของสหรัฐฯ ยังคงดำเนินมาตราบจนปัจจุบัน ซึ่งนี่เป็นเจตจำนงของประชาชนชาวสหรัฐฯ และผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยเชื่อว่าไต้หวัน - สหรัฐฯ ควรธำรงรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เนื่องจากไต้หวันเป็นตัวแทนของค่านิยมที่สำคัญต่างๆ ในประชาคมโลก
Dr. Feulner กล่าวว่า ไต้หวันเป็นพันธมิตรและมิตรสหายที่สำคัญ อีกทั้งยังมีบทบาทที่สำคัญในแผนยุทธศาสตร์อินโด – แปซิฟิกของสหรัฐฯ อีกด้วย
Dr. Feulner ชี้ว่า เขาคาดหวังที่จะเห็นไต้หวัน – สหรัฐฯ ร่วมลงนาม “ความตกลงการค้าเสรี” (FTA) และ “ความตกลงด้านเศรษฐกิจดิจิทัล” (DEA) เช่นเดียวกับที่ปธน.ไช่ฯ ได้ระบุถึงในช่วงเริ่มต้น ควบคู่ไปกับการเร่งเสริมสร้างความสัมพันธ์แบบทวิภาคีระหว่างกันในเชิงลึกต่อไป