ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
“การประชุมสัมมนาว่าด้วยการวางรากฐานธุรกิจในกลุ่มประเทศเป้าหมายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ ควบคู่กับประเด็นความท้าทายที่เกิดจากแนวโน้มการหลบเลี่ยงภาษีระดับนานาชาติ” เพื่อหาทางช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการไต้หวันบรรเทาผลกระทบและความท้าทายที่เกิดจากการจัดเก็บภาษีในรูปแบบใหม่
2022-04-27
New Southbound Policy。“การประชุมสัมมนาว่าด้วยการวางรากฐานธุรกิจในกลุ่มประเทศเป้าหมายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ ควบคู่กับประเด็นความท้าทายที่เกิดจากแนวโน้มการหลบเลี่ยงภาษีระดับนานาชาติ” เพื่อหาทางช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการไต้หวันบรรเทาผลกระทบและความท้าทายที่เกิดจากการจัดเก็บภาษีในรูปแบบใหม่ (ภาพจากกระทรวงเศรษฐการ)
“การประชุมสัมมนาว่าด้วยการวางรากฐานธุรกิจในกลุ่มประเทศเป้าหมายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ ควบคู่กับประเด็นความท้าทายที่เกิดจากแนวโน้มการหลบเลี่ยงภาษีระดับนานาชาติ” เพื่อหาทางช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการไต้หวันบรรเทาผลกระทบและความท้าทายที่เกิดจากการจัดเก็บภาษีในรูปแบบใหม่ (ภาพจากกระทรวงเศรษฐการ)

กระทรวงเศรษฐการ วันที่ 26 เม.ย. 65
 
เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ประกอบการชาวไต้หวัน บรรเทาผลกระทบที่ได้รับจาก “การกำหนดอัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ”(Global Minimum Tax, GMT) และ “ระบบการควบคุมบริษัทต่างชาติ” (Controlled Foreign Company, CFC” สำนักงาน Invest in Taiwan ภายใต้การดูแลของกระทรวงเศรษฐการ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) จึงได้จัด “การประชุมสัมมนาว่าด้วยการวางรากฐานธุรกิจในกลุ่มประเทศเป้าหมายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ ควบคู่กับประเด็นความท้าทายที่เกิดจากแนวโน้มการหลบเลี่ยงภาษีระดับนานาชาติ” โดยในระหว่างการประชุม บรรดานักบัญชีของสำนักงานตรวจสอบบัญชี KPMG ที่มีเครือข่ายทั่วโลก ได้เข้าร่วมวิเคราะห์และชี้แจงถึงข้อควรรู้และแนวทางการเตรียมพร้อมรับมือ สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการชาวไต้หวัน ภายใต้สถานการณ์แนวโน้มการหลบเลี่ยงภาษีระดับนานาชาติ โดยได้ดึงดูดผู้สนใจเข้าร่วมทั้งในสถานที่การประชุมจริงและผ่านระบบออนไลน์ รวมจำนวน 100 กว่าคน ซึ่งบรรยากาศการพูดคุยเป็นไปอย่างคึกคัก
 
นายจางหมิงปิน ผู้อำนวยการสำนักงาน Invest in Taiwan กล่าวขณะปราศรัยว่า ผู้ประกอบการไต้หวันที่ไปตั้งรากฐานอยู่ในกลุ่มประเทศเป้าหมายนโยบายมุ่งใต้ใหม่มีเป็นจำนวนมาก และมีรูปแบบที่หลากหลาย โดยคาดการณ์ว่า ในปี 2023 ที่จะมีการบังคับใช้การกำหนดอัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ ภายใต้กลไก “การหลบเลี่ยงภาษีที่อาศัยช่องว่างของกฎหมาย (Base Erosion and Profit Shifting, BEPS) เวอร์ชัน 2.0” ที่ประกาศโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ควบคู่ไปกับการบังคับใช้ “ระบบการควบคุมบริษัทต่างชาติ” (CFC) ในไต้หวัน ซึ่งอาจนำมาซึ่งผลกระทบและความท้าทายในการวางรากฐานในต่างประเทศของกลุ่มผู้ประกอบการไต้หวัน ผอ. จางฯ จึงคาดหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ประกอบการไต้หวันจับตากระแสความเคลื่อนไหวของการกำหนดภาษีระดับนานาชาติ ผ่านการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายที่เกิดจากการกำหนดภาษีในรูปแบบใหม่
 
เริ่มแรก นางติงฉวนหลุน นักบัญชีสำนักงานตรวจสอบบัญชี KPMG ได้ทำการชี้แจงกลไกอัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ (Globe Rules) พร้อมชี้แจงถึงทรรศนะของรัฐบาลแต่ละประเทศในการบังคับใช้ รวมถึงการส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของการจัดเก็บภาษีในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ โดยนางติงฯ ได้ชี้แจงต่อเหล่าผู้ประกอบการชาวไต้หวันว่า เนื่องด้วยกระแสการพัฒนาอัตราภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก จึงขอแนะนำให้ผู้ประกอบการข้ามชาติจับตาให้ความสำคัญกับกฎข้อบังคับและมาตรการตรวจสอบต่างๆ อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันมิให้มีการหลีกเลี่ยงภาษี พร้อมทั้งพิจารณาทบทวนแนวทางการบริหารและการลงทุนขององค์กร เพื่อดำเนินการบริหารการเสียภาษีอากรให้เกิดความรัดกุม นอกจากนี้ นายเย่เจี้ยนหลางแห่งสำนักงานตรวจสอบบัญชี KPMG ก็ได้ชี้แจงถึงระบบการควบคุมบริษัทต่างชาติ (CFC) ที่ไต้หวันเตรียมบังคับใช้ โดยได้หยิบยกกรณีตัวอย่างในการคำนวณและชี้แจงการบริหารควบคุมตราสารทุนและการจัดเก็บภาษี พร้อมเน้นย้ำว่า ระบบภาษี CFC ของไต้หวันเตรียมมีผลบังคับใช้แล้วในเร็ววันนี้ โดยบรรดาผู้ประกอบการไต้หวันควรประเมินให้ถี่ถ้วน เพื่อแสวงหาโครงสร้างการลงทุนในตลาดต่างประเทศที่เหมาะสมต่อไป