ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไต้หวันนำรายงานดัชนีเพศสภาพและสถาบันทางสังคมรวมทั้งดัชนีความเสมอภาคทางเพศของ EU (GEI) บรรจุในรายงานภาพลักษณ์ทางเพศเป็นครั้งแรก
2024-01-30
New Southbound Policy。ไต้หวันนำรายงานดัชนีเพศสภาพและสถาบันทางสังคมรวมทั้งดัชนีความเสมอภาคทางเพศของ EU (GEI) บรรจุในรายงานภาพลักษณ์ทางเพศเป็นครั้งแรก (ภาพจากสภาบริหาร)
ไต้หวันนำรายงานดัชนีเพศสภาพและสถาบันทางสังคมรวมทั้งดัชนีความเสมอภาคทางเพศของ EU (GEI) บรรจุในรายงานภาพลักษณ์ทางเพศเป็นครั้งแรก (ภาพจากสภาบริหาร)

สภาบริหาร วันที่ 29 ม.ค. 67
 
เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมา สำนักงานความเสมอภาคทางเพศ สภาบริหาร สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ประกาศ “รายงานภาพลักษณ์ทางเพศ ประจำปี 2567” (2024 Gender at a Glance in R.O.C. (Taiwan)) ซึ่งเป็นปีแรกที่ได้นำรายงานดัชนีเพศสภาพและสถาบันทางสังคม (Social Institutions and Gender Index, SIGI) ปี 2566 ที่จัดทำโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) เข้าเป็นส่วนหนึ่งในรายงาน โดยผลคะแนนของไต้หวันได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก และครองอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ ในปี 2566 ทางสภาบริหารยังได้จัดตั้ง “ดัชนีความเสมอภาคทางเพศของไต้หวัน” เมื่อเทียบเคียงกับ “ดัชนีความเสมอภาคของ EU” (GEI) แล้ว ผลคะแนนของไต้หวันถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 12 ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป จำนวน 27 ประเทศ นอกจากนี้ สภาบริหารยังได้มุ่งผลักดันสถานประกอบการที่เป็นมิตรต่อทุกเพศสภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชากรชายร่วมแบ่งเบาภาระงานบ้าน ด้วยการยกระดับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อเลี้ยงดูทารกจากร้อยละ 60 เพิ่มเป็นร้อยละ 80 ของเงินเดือน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนก.ค. ของปี 2564 เป็นต้นไป และยังผ่อนคลายความเข้มงวดในการยื่นขออนุมัติ เป็นต้น จึงทำให้ในปีถัดจากการบังคับใช้มาตรการดังกล่าว มีการยื่นขออนุมัติของกลุ่มประชากรชายเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 25.2 ถือเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากก่อนการบังคับใช้ในปี 2563 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 18.2
 
สำหรับการเข้าร่วมกำหนดนโยบายของกลุ่มสตรี ในกลุ่มสมาชิกสภานิติบัญญัติ ครั้งที่ 11 ที่ได้รับเลือกตั้งเมื่อช่วงต้นเดือนม.ค.ที่ผ่านมา สมาชิกที่เป็นผู้หญิงครองสัดส่วนกว่าร้อยละ 41.6 ซึ่งเป็นจำนวนเทียบเท่ากับผลการเลือกตั้งในปี 2563 แต่ลดลงเล็กน้อยจากการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ ครั้งที่ 10 ในเดือนม.ค. ปี 2565 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 42.5
 
สนง.ความเสมอภาคทางเพศ ชี้ว่า ไต้หวันได้มีมติผ่านกฎหมายว่าด้วยการสมรสของบุคคลเพศเดียวกันตั้งแต่เดือนพ.ค. ปี 2562 และได้ผ่อนคลายกฎระเบียบว่าด้วยการสมรสของบุคคลเพศเดียวกันแบบข้ามพรมแดน และสิทธิการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม ในปี 2566 ส่งผลให้การสมรสเท่าเทียมในไต้หวัน มีความก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น จนถึงสิ้นปี 2566 คู่รักเพศเดียวกันที่จดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีจำนวนทั้งสิ้น 25,716 คนแล้ว ในจำนวนนี้ เป็นคู่รักที่เป็นเพศชายจำนวน 7,748 คน โดยคู่รักเพศหญิงมีจำนวน 17,968 คน ส่วนการจดทะเบียนสมรสข้ามชาตินั้น ชาวไต้หวันและชาวต่างชาติที่ได้จดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีจำนวน 1,054 คน แบ่งเป็นเพศชาย 644 คน เพศหญิง 410 คน
 
ในด้านความมั่นคงปลอดภัยของชีวิตส่วนบุคคล จากรายงานผลการสำรวจกรณีการยื่นฟ้องข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ ตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศ กว่าร้อยละ 90 ของผู้ถูกล่วงละเมิดล้วนเป็นผู้หญิง ส่วนการคุกคามทางเพศผ่านช่องทางออนไลน์ใน “สภาพแวดล้อมเสมือนจริง” การล่วงละเมิดทางเพศคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 24 ดังนั้น เพื่อจัดตั้งระบบการป้องกันและปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศที่มีประสิทธิภาพ มีความเป็นมิตรและสามารถเชื่อถือได้ จึงได้มีการบังคับใช้ “กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสะกดรอยตาม” ในปี 2565 ส่วนในเดือนม.ค. ปี 2566 ได้มีการแก้ไขจำนวนที่ได้รับการรายงานและแก้ไขข้อกฎหมาย 4 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการคุกคามทางเพศผ่านช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้ ในเดือนก.ค. ของปีเดียวกัน ยังมีการประกาศ “กฎหมายป้องกันและปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศ” “กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคทางเพศในด้านการประกอบอาชีพ” และ “กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคทางการศึกษา” เพื่อสร้างหลักประกันทางการป้องกันและปราบปรามความรุนแรงทางเพศ ผ่านการบังคับใช้กฎหมายและกลไกที่รัดกุม
 
สนง.ความเสมอทางเพศ เห็นว่า หลายปีมานี้ ไต้หวันมุ่งบ่มเพาะบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาที่เป็นผู้หญิง ในปี 2564 นักวิจัยที่เป็นผู้หญิงครองสัดส่วนร้อยละ 23.1 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการขยายตัวที่มีเสถียรภาพ ในส่วนของการศึกษาขั้นสูง ในปี 2563 คณะสาขาที่บัณฑิตหญิงเลือกเรียนที่ส่วนมากเป็นสาขาวิชา STEM โดย “วิทยาศาสตร์ธรรมชาต์ คณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์” ครองสัดส่วนมากสุดที่ร้อยละ 43.1 “เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม” ครองสัดส่วนเป็นลำดับต่อมาที่ร้อยละ 29.5 และ “วิศวกรรมศาสตร์ การผลิตและก่อสร้าง” ครองสัดส่วนร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบเคียงกับประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้ว การเข้ามีส่วนร่วมของผู้หญิงในการศึกษาขั้นสูง สาขาวิชา “เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม” มีสัดส่วนมากกว่าประเทศอื่นๆ ร้อยละ 3.9 – 8.1
 
นอกจากนี้ ตามรายงานดัชนีความเสมอภาคทางเพศในประเทศที่จัดทำโดยสภาบริหาร ผลคะแนนรวมของไต้หวันในปี 2565 อยู่ที่ 72 คะแนน เพิ่มขึ้น 4.1 คะแนนเมื่อเทียบกับปี 2558 ซึ่งได้ 67.9 คะแนน หลายปีมานี้ ปัจจัยในการประเมินที่ไต้หวันมีการพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ประกอบด้วย สัดส่วนของแรงงานชายที่ยื่นขออนุมัติเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อเลี้ยงดูทารก สวัสดิการเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุหญิงที่รัฐจ่ายมอบให้เป็นรายเดือน และอัตราการตรวจสุขภาพของผู้ทุพลลาภที่เป็นผู้หญิง ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 65 ปี เป็นต้น
 
ทั้งนี้ ในรายงานภาพลักษณ์ทางเพศประจำปี 2567 และดัชนีความเสมอภาคทางเพศ ได้ถูกอัปโหลดลงบนเว็บไซต์ https://gov.tw/Xri , https://gov.tw/QMm ผู้สนใจสามารถเข้าชมรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ข้างต้น