กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 11 ส.ค. 67
ในระหว่างการแสดงบนเวทีวัฒนธรรมโอลิมปิกของ Nymphia Wind และคณะนักแสดง Haus of Wind เป็นเวลาเดียวกับที่หลินอวี้ถิง นักมวยสากลสมัครเล่นหญิงทีมชาติไต้หวัน สามารถคว้าเหรียญทองในรุ่นน้ำหนักไม่เกิน 57 กิโลกรัมมาครองได้สำเร็จ บนจอโปรเจคเตอร์ของเวทีวัฒนธรรมโอลิมปิก จึงปรากฎภาพที่หลินฯ ก้าวขึ้นรับเหรียญทอง ซึ่งสามารถความประทับใจให้ Nymphia Wind รวมถึงคณะนักแสดงเป็นอย่างมาก นอกจากจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงสปิริตของ “WinTogether” ซึ่งเป็นจิตวิญญาณของวัฒนธรรมโอลิมปิกแล้ว ภาพบนหน้าจอโปรเจคเตอร์ยังมีข้อความ “ขอขอบคุณเหล่านักกีฬาทีมชาติไต้หวัน” พร้อมทั้งขึ้นรายชื่อของนักกีฬาไต้หวันที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ โดยที่มีเสียงเพลง Never Give Up ซึ่งเป็นเพลงเชียร์ที่ไต้หวันใช้สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้ดังกระหึ่มไปทั่ว ตามด้วยเสียงร้องตะโกนของบรรดาผู้ชม ด้วยคำว่า “ไต้หวัน” แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไต้หวัน ในการพิสูจน์ให้ประชาคมโลกประจักษ์ว่า “ไต้หวันจะไม่ล้มเลิกความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก”
นางหวังสือซือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรมไต้หวัน กล่าวขอบคุณทุกคนที่ร่วมสร้างความประทับใจที่เปี่ยมไปด้วยหยาดเหงื่อ คราบน้ำตา ความปิติยินดี มิตรภาพ ความซาบซึ้งใจ ความภาคภูมิใจและความซาบซึ้งใจ ตลอดระยะเวลา 15 วันที่ผ่านมา ไต้หวันได้แบ่งปันทั้งเรื่องราว ทางเลือก ความหวัง ความคลั่งไคล้และความรัก “สิ่งที่แบ่งปันคือความเป็นตัวตนของเราจริงๆ” รมช.หวังฯ กล่าวว่า “ขอเพียงค้นพบชื่อที่แท้จริงของเรา ก็จะสามารถนำเอาตัวตนของเรากลับคืนมาได้” ไม่ว่าจะในฐานะชื่อไชนีส ไทเป (Chinese Taipei) หรือไต้หวัน (Taiwan) พวกเราจะไม่ยอมล้มเลิกการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก
เชื่อว่าพิธีปิดของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเมื่อคืนที่ผ่านมา จะเป็นค่ำคืนสุดท้ายแห่งการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็น “ไต้หวัน” ในงานวัฒนธรรมโอลิมปิกได้อย่างเด่นชัดที่สุด ทั้ง DJ Swallow และการแสดงชุด “HOT CHICK” ของคณะ Les Petites Choses Production ที่จัดขึ้นในขบวนรถพาเหรดด้วยดนตรีแนวอิเล็กทรอนิกส์แบบไต้หวัน และการจัดเลี้ยงแบบโต๊ะจีน ซึ่งสอดรับกับเวทีในคูหาไต้หวันและภาพบรรยากาศการเลี้ยงแขกในกิจกรรมงานวัด สำหรับไฮไลท์การแสดงจาก Nymphia Wind และ Haus of Wind ได้นำเสนอให้เห็นถึงทัศนศิลป์ที่สื่อถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและการแสดงดนตรี ประกอบกับการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายในรูปแบบต่างๆ ของแดรกควีน อาทิ เจ้าแม่มาจู่ ผีเสื้อ รวมไปถึงอาหารว่างท้องถิ่นแบบไต้หวัน ก็สร้างสีสันให้กับงานไม่น้อย
คูหาไต้หวันจัดขึ้นเป็นระยะเวลา 15 วันมีคณะนักแสดงจำนวน 120 คนจาก 24 คณะ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการแสดง รวมทั้งสิ้น 57 รอบ และมีผู้ชมเข้าร่วมเป็นจำนวนกว่า 70,000 คน อันเป็นการส่งเสริมให้ประชาคมโลกประจักษ์ถึงความมุ่งมั่นของไต้หวันในการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ควบคู่ไปกับการร่วมแบ่งปันค่านิยมทางเสรีภาพ ประชาธิปไตยและรูปแบบที่หลากหลาย นับเป็นครั้งแรกที่ไต้หวันเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกด้วยการจัดวัฒนธรรมโอลิมปิก พวกเราเชื่อว่า นี่ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เนื่องจากกิจกรรมที่ปิดฉากลงในวันนี้ มีความหมายต่อพวกเราเป็นอย่างมาก