ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
รองนรม. สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ชี้ ในช่วงครึ่งแรกของปีหน้าจะเริ่มต้น "โครงการสมาร์ทเนชั่น 2.0" ฉบับใหม่ เพื่อสร้าง "เกาะเทคโนโลยีอัจฉริยะและสังคมดิจิทัลใหม่"
2025-01-02
New Southbound Policy。รองนรม. สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ชี้ ในช่วงครึ่งแรกของปีหน้าจะเริ่มต้น
รองนรม. สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ชี้ ในช่วงครึ่งแรกของปีหน้าจะเริ่มต้น "โครงการสมาร์ทเนชั่น 2.0" ฉบับใหม่ เพื่อสร้าง "เกาะเทคโนโลยีอัจฉริยะและสังคมดิจิทัลใหม่" (ภาพจากสภาบริหาร)

สภาบริหาร วันที่ 31 ธ.ค. 68
 
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2567 นางเจิ้งลี่จวิน รองนายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ทำหน้าที่เป็นประธานใน “การประชุมคณะทำงานส่งเสริมสมาร์ทเนชั่นแห่งสภาบริหาร ครั้งที่ 5” โดยรองนรม.เจิ้งฯ กล่าวว่า เพื่อตอบสนองกระแสเทคโนโลยี AI และรับมือกับความท้าทายรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการเผชิญหน้ากับการปรับโครงสร้างของระบบห่วงโซ่อุปทาน การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (NET ZERO) รวมไปถึงสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2568 สภาบริหารจึงได้เร่งดำเนินการตาม “แผนแม่บทใหม่ด้านสมาร์ทเนชั่น เวอร์ชัน 2.0” ซึ่งพัฒนาต่อยอดจาก “โครงการสมาร์ทเนชั่น” ซึ่งกำหนดระยะเวลาของภารกิจในช่วงระหว่างปี 2568 – 2571 โดยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นหน่วยงานต่างๆ ร่วมผลักดันภารกิจตามวิสัยทัศน์ “เกาะเทคโนโลยีอัจฉริยะ สังคมรูปแบบใหม่เชิงดิจิทัล” ที่แบ่งออกเป็น 4 มิติ ประกอบด้วย “เทคโนโลยีอัจฉริยะ อุตสาหกรรมอัจฉริยะ การบริหารรูปแบบอัจฉริยะ และการผสานผสานแบบอัจฉริยะ”
 
รองนรม.เจิ้งฯ เน้นย้ำว่า “แผนแม่บทรูปแบบใหม่ด้านสมาร์ทเนชั่น เวอร์ชัน 2.0” ถือเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม นำพาให้ไต้หวันก้าวไปสู่สังคมรูปแบบใหม่ในการพัฒนาทางดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี ขยายขอบเขตการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ผ่านซอฟต์แวร์และข้อมูล แก้ไขปัญหาทางสังคมด้วยดิจิทัลและเทคโนโลยี ยกระดับสวัสดิการในชีวิตประจำวันของประชาชน ทั้งนี้ เพื่อมุ่งบรรลุเป้าหมายนโยบาย “เศรษฐกิจนวัตกรรม ไต้หวันที่สมดุล และการเติบโตที่ยอมรับซึ่งกันและกัน” ที่ยื่นเสนอโดยคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งสภาบริหาร
 
รองนรม.เจิ้งฯ กล่าวว่า “โครงการสมาร์ทเนชั่น” กำหนดเกณฑ์การประเมินไว้ 6 ประการที่จะบรรลุตามเป้าหมายให้ได้ในปี 2568 โดยในจำนวนนี้ “ขอบเขตเศรษฐกิจดิจิทัล ขอบเขตเศรษฐกิจการบริการในรูปแบบดิจิทัล สัดส่วนของผู้ที่มีความสามารถในการแข่งขันเชิงดิจิทัล และอัตราการครอบคลุมเครือข่าย 5G นอกพื้นที่ชนบท” ต่างมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายแล้ว ส่วน “อัตราการเข้าถึงการบริการในยุคดิจิทัลไลฟ์ และโครงข่ายไฟเบอร์ความเร็ว 2Gbps” ก็อยู่ระหว่างการดำเนินการตามเป้าหมาย รองนรม.เจิ้งฯ จึงขอเรียกร้องให้ทุกหน่วยงานมุ่งดำเนินภารกิจตามแผ่นแม่บทข้างต้นอย่างต่อเนื่อง
 
สำหรับทิศทางการพัฒนาในลำดับต่อไปของการพัฒนาสมาร์ทเนชั่น รองนรม.เจิ้งฯ กล่าวว่า หนึ่งในแนวคิดหลักของ “โครงการความหวังของชาติ” ที่ ปธน.ไล่ชิงเต๋อ ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เสนอขึ้นมา คือ การแสวงหารูปแบบการขยายตัวทางเศรษฐกิจ “ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” เพื่อรับมือกับความท้าทายด้วยนวัตกรรม อาศัยเทคโนโลยีในการนำเสนอแผนโซลูชัน พลิกวิกฤตความท้าทายให้เป็นพลังขับเคลื่อนการขยายตัว นอกจากนี้ นรม.จั๋วหรงไท่ ยังได้เสนอเป้าหมายนโยบายว่าด้วย “เศรษฐกิจนวัตกรรม และสมาร์ทเนชั่น” ซึ่งมีนโยบายสำคัญที่ประกอบด้วย :  การพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ การควบคุมด้านความมั่นคง และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ซึ่งรวมอยู่ใน “5 อุตสาหกรรมหลักที่เชื่อถือได้”
 
“แผนแม่บทใหม่ด้านสมาร์ทเนชั่น เวอร์ชัน 2.0” มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับ “Smile Curve ของห่วงโซ่คุณค่า AI” โดยอาศัยข้อได้เปรียบในด้านการผลิตขั้นสูงที่มีอยู่แล้ว พร้อมดำเนินงานในสองทิศทางสำคัญ ประการแรกได้แก่ การพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยวางแผนล่วงหน้าในงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญ รวมถึงใช้การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อนสำหรับนวัตกรรม สำหรับประการที่สอง รัฐบาลจะมุ่งเน้นการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยความต้องการของสังคม โดยพัฒนาบริการนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์และข้อมูล เพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคตของสังคมในหลากหลายด้าน เช่น การศึกษา การแพทย์ การดูแล การพำนักอาศัย คมนาคมอัจฉริยะ เทคโนโลยีทางการเงิน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เมืองอัจฉริยะ การปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ ความยืดหยุ่นด้านการป้องกันภัยพิบัติ และรัฐบาลอัจฉริยะ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกมิติ
 
นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องเชื่อมโยงการพัฒนานวัตกรรมสู่การพัฒนาฟื้นฟูความหลากหลายของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้การสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางภาคอุตสาหกรรม อันจะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมร้อยแขนง โดยในจำนวนนี้ “การบริหารรูปแบบอัจฉริยะ” ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญ รองนรม.เจิ้งฯ จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพัฒนาดิจิทัล กระทรวงเศรษฐการ และคณะกรรมการพัฒนาประเทศชาติ ร่วมจัดตั้งระบบกฎหมายเชิงดิจิทัลที่สมบูรณ์ และโครงสร้างการบริหารข้อมูล

รองนายกรัฐมนตรีเจิ้งฯ ยังกล่าวว่า รัฐบาลต้องผลักดันการเติบโตด้วยนวัตกรรมให้ครอบคลุมถึงการฟื้นฟูและพัฒนาธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดเล็กในหลายมิติ พร้อมสนับสนุนการยกระดับและปรับเปลี่ยนรูปแบบของอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาในทุกภาคส่วน ในเรื่องนี้ "การบริหารจัดการอัจฉริยะ" ถือเป็นกุญแจสำคัญ โดยได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานข้ามกระทรวง ได้แก่ สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงพัฒนาดิจิทัล กระทรวงเศรษฐการ และคณะกรรมการพัฒนาแห่งชาติ เพื่อร่วมกันสร้างระบบกฎหมายดิจิทัลที่สมบูรณ์และโครงสร้างการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
 
รองนายกรัฐมนตรีเจิ้งฯ ยังขอให้สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำข้อเสนอจากคณะกรรมการขับเคลื่อนสมาร์ทเนชั่นที่ได้หารือในที่ประชุมมาพิจารณา รวมถึงการปรับปรุง "โครงการสมาร์ทเนชั่น 2.0" โดยเน้นในด้าน การเสริมสร้างคลังข้อมูลภาษา การพัฒนาเทคโนโลยีการเงิน การบ่มเพาะบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และการส่งเสริม AI ที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน พร้อมกันนี้ยังได้ย้ำให้รวบรวมความคิดเห็นจากคณะกรรมการที่ปรึกษาจากภาคประชาชนและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เพื่อนำมาปรับปรุงและแก้ไข "โครงการสมาร์ทเนชั่น 2.0" ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ข่าวยอดนิยม