ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
คณะผู้เชี่ยวชาญจาก 34 ประเทศ เดินทางมาเข้าร่วมค่ายฝึกอบรมนานาชาติ ภายใต้กรอบความร่วมมือ GCTF โดยประธานคกก.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไต้หวัน เน้นย้ำการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการป้องกันภัยพิบัติ เพื่อพัฒนากลไกการให้บริการแก่ภาคประชาสังคม
2025-06-24
New Southbound Policy。คณะผู้เชี่ยวชาญจาก 34 ประเทศ เดินทางมาเข้าร่วมค่ายฝึกอบรมนานาชาติ ภายใต้กรอบความร่วมมือ GCTF โดยประธานคกก.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไต้หวัน เน้นย้ำการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการป้องกันภัยพิบัติ เพื่อพัฒนากลไกการให้บริการแก่ภาคประชาสังคม (ภาพจากคณะกรรมการกิจการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
คณะผู้เชี่ยวชาญจาก 34 ประเทศ เดินทางมาเข้าร่วมค่ายฝึกอบรมนานาชาติ ภายใต้กรอบความร่วมมือ GCTF โดยประธานคกก.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไต้หวัน เน้นย้ำการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการป้องกันภัยพิบัติ เพื่อพัฒนากลไกการให้บริการแก่ภาคประชาสังคม (ภาพจากคณะกรรมการกิจการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

คณะกรรมการกิจการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันที่ 23 มิ.ย. 68
 
ค่ายฝึกอบรมนานาชาติ ภายใต้กรอบความร่วมมือ Global Cooperation and Training Framework (GCTF) มีกำหนดการจัดขึ้น ณ โรงแรม The Howard Plaza Hotel Taipei ในช่วงระหว่างวันที่ 23 – 25 มิถุนายน 2568 โดยหัวข้อประจำปีนี้คือ “ความร่วมมือเชิงหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนทั่วโลก ในด้านการส่งมอบความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม : ความร่วมมือในการบริหารจัดการภัยพิบัติอย่างยั่งยืน” (Global Public-Private Partnership in HA/DR:Disaster Governance Sustainable Cooperation) โดยกิจกรรมในครั้งนี้เกิดจากการประสานความร่วมมือ ระหว่างสมาคมแลกเปลี่ยนระหว่างญี่ปุ่น – ไต้หวัน และคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไต้หวัน (NSTC) และได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ สถาบันอเมริกาในไต้หวัน สำนักงานตัวแทนรัฐบาลออสเตรเลียประจำกรุงไทเป และสำนักงานการค้าแคนาดาประจำกรุงไทเป ซึ่งประสบความสำเร็จในการดึงดูดนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 150 คน จาก 34 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วม
 
ในระหว่างการปราศรัยในพิธีเปิดการประชุม นายอู๋เฉิงเหวิน ประธาน NSTC เน้นย้ำว่า เมื่อเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่เกิดจากภัยพิบัติชรูปแบบซับซ้อนในปัจจุบัน บทบาทของเทคโนโลยีด้านการป้องกันภัยพิบัติ ได้ก้าวล้ำหน้าการมุ่งเฉพาะงานวิจัยเพียงอย่างเดียว โดยได้ผลักดันการประยุกต์ใช้ในภาคประชาสังคม ก้าวสู่การเป็นเสาหลักของกลไกการบริการเพื่อสาธารณะ จากประสบการณ์การป้องกันสาธารณภัยของไต้หวัน บ่งชี้ให้เห็นว่า ความยืดหยุ่นด้านการปกป้องภาคประชาสังคม ไม่สามารถก่อเกิดได้ภายในพริบตา และไม่สามารถพึ่งพาเฉพาะรัฐบาลแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ แต่จำเป็นต้องตั้งอยู่บนรากฐานการวิจัยทางเทคโนโลยี ประกอบกับกลไกการบริหารด้วยการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐ – ภาคเอกชน รวมไปถึงการเข้าร่วมของภาคประชาสังคมอย่างกระตือรือร้น
 
ประธานอู๋ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า NSTC มุ่งมั่นวิจัยและประยุกต์ใช้การป้องกันภัยพิบัติด้วยวิทยาศาสตร์ ระบบเตือนภัยล่วงหน้า และการบริหารจัดการความเสี่ยง อย่างแข็งขันมาเป็นเวลานาน พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการภาคเอกชนและองค์การที่ไม่แสวงหาผลกำไรอย่างต่อเนื่อง อาทิ มูลนิธิฉือจี้ ร้านสะดวกซื้อ Family Mart และบริษัท Chunghwa Telecom เป็นต้น โดยในปัจจุบัน ได้มีการประยุกต์ใช้ข้อมูลบิ๊กดาต้า เครือข่ายโลจิสติกส์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี มาใช้ในการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดภัยพิบัติ การตอบสนองต่อสถานการณ์ภัยพิบัติ และการฟื้นฟูหลังเกิดเหตุ
 
ประธานอู๋ฯ กล่าวว่า ค่ายฝึกอบรมในครั้งนี้ถือเป็น “การก้าวออกจากกรอบแนวคิดไปสู่การปฏิบัติการ” พร้อมเน้นย้ำว่า แพลตฟอร์มดังกล่าวจะสามารถกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือนานาชาติรูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมให้เทคโนโลยีสวมบทบาทในการเป็นสะพานเชื่อมโยงหุ้นส่วนโลก ควบคู่ไปกับการผลักดันสังคมที่มีความยืดหยุ่น โดยไต้หวันนอกจากจะมุ่งมั่นในการแบ่งปันประสบการณ์อย่างกระตือรือร้นแล้ว ยังมีเจตนารมณ์ที่จะบรรลุแนวคิด “การอุทิศคุณประโยชน์ด้วยเทคโนโลยี” บนเวทีนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อสร้างคุณูปการในการพิชิตเป้าหมายการป้องกันภัยและการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ แก่ประชาคมโลกอย่างเป็นรูปธรรม
 
ค่ายฝึกอบรมในครั้งนี้มุ่งเน้นการอภิปรายไปที่ 6 หัวข้อหลัก ได้แก่ : (1) บทบาทขององค์การนอกภาครัฐที่มีต่อการตอบสนองภัยพิบัติ (2) เครือข่ายนโยบายความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐและเอกชน (3) การส่งเสริมการประยุกต์ใช้ทางเทคโนโลยี (4) กรณีตัวอย่างความร่วมมือแบบข้ามพรมแดน (5) การส่งเสริมการเรียนรู้ในภาคประชาสังคม หลังเหตุภัยพิบัติครั้งรุนแรง และ (6) ทิศทางการพัฒนาสังคมที่เปี่ยมด้วยความยืดหยุ่น
 
ในระหว่างการแสดงปาฐกถาในหัวข้อพิเศษ Ms. Mami Mizutori อดีตผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และผู้อำนวยการสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ระบุว่า ความเสี่ยงภัยพิบัติโลกนับวันยิ่งทวีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น การประยุกต์ใช้ผลสัมฤทธิ์ทางเทคโนโลยี ประกอบเข้ากับการเข้าร่วมของภาคประชาสังคม พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับการประสานงานข้ามพรมแดน และการบูรณาการแบบข้ามหน่วยงาน จึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการยกระดับความยืดหยุ่นทางภาคประชาสังคมในภาพรวม
 
ระหว่างกิจกรรมค่ายฝึกอบรมครั้งนี้ ยังได้จัดเตรียมให้คณะตัวแทนเข้าเยี่ยมชมศาลา Tzu Chi Jing Si Hall ศูนย์เทคโนโลยีป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติของไต้หวัน (NCDR) และศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (CEOC) ทั้งนี้ เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงทิศทางการพัฒนาในอนาคตและแผนปฏิบัติการในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน  ในประเด็นการป้องกันภัยพิบัติด้วยปัจจัยทางเทคโนโลยีของไต้หวัน
 

ข่าวยอดนิยม