ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ปธน.ไช่ฯ แถลง เพียงให้โอกาสไต้หวัน โลกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
2019-03-28

ประธานาธิบดี ไช่อิงเหวิน (ในภาพ) เดินทางเยือน 3 ประเทศพันธมิตรที่้ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิคทางตอนใต้ เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ได้เดินทางถึงสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์เป็นที่เรียบร้อย และในค่ำวันเดียวกันนั้น ได้เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำที่ประธานาธิบดีHilda C. Heine แห่งสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ จัดขึ้นเพื่อเป็นการต้อนรับ ปธน.ไช่ฯ ชูแก้วเพื่อแสดงความขอบคุณ สำนักข่าว CNA วันที่ 26 มี.ค. 62

ประธานาธิบดี ไช่อิงเหวิน (ในภาพ) เดินทางเยือน 3 ประเทศพันธมิตรที่้ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิคทางตอนใต้ เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ได้เดินทางถึงสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์เป็นที่เรียบร้อย และในค่ำวันเดียวกันนั้น ได้เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำที่ประธานาธิบดีHilda C. Heine แห่งสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ จัดขึ้นเพื่อเป็นการต้อนรับ ปธน.ไช่ฯ ชูแก้วเพื่อแสดงความขอบคุณ สำนักข่าว CNA วันที่ 26 มี.ค. 62

สำนักข่าว CNA วันที่ 26 มี.ค. 62

เมื่อค่ำวันที่ 26 มี.ค. ประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำที่ประธานาธิบดี Hilda C. Heine ผู้นำแห่งสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์จัดขึ้น เพื่อเป็นการต้อนรับ ปธน.ไช่ฯ กล่าวขณะปราศรัยว่า ไต้หวันให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่แพ้สมาชิกสหประชาชาติ (United Nations, UN) เพียงแค่ให้โอกาสไต้หวัน เชื่อว่าจะนำมาซึ่งตัวเลือกให้กับโลกมากขึ้นอย่างแน่นอน


 

สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ ซึ่งเป็นประเทศจุดหมายปลายทางแห่งที่ 3 และเป็นประเทศสุดท้ายใน“แผนการเดินทางล่องทะเลแห่งประชาธิปไตย”ของปธน.ไช่ฯ และคณะ โดยปธน.Heine ได้จัดเตรียมงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นการต้อนรับ และที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งคือ ในช่วงระยะเวลาที่ปธน.ไช่ฯ เดินทางเยือนสาธารณรัฐปาเลา Amy J. Hyatt เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำสาธารณรัฐปาเลา ได้เดินทางมาเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำและงานเลี้ยงแสดงความขอบคุณถึงสองคราด้วยกัน โดยค่ำวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมานี้ Karen B. Stewart เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ ก็ได้เดินทางมาเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำที่ปธน. Heine จัดขึ้นเช่นกัน


 

ปธน.ไช่ฯ กล่าวขณะปราศรัยว่า สองปีที่แล้วได้เดินทางมาเยือนมาร์แชลล์ และได้พูดคุยกับปธน. Heine ซึ่งทั้งสองผู้นำต่างมีเห็นพ้องกันว่า ควรจัดการประชุมสัมมนากลุ่มผู้นำหญิงในภูมิภาค เพื่อกระตุ้นความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนประเด็นความเสมอภาคทางเพศให้มากขึ้น ซึ่ง “การประชุมผู้นำหญิงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิค” ที่จัดขึ้นในวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมา มีตัวแทนหลายประเทศเข้าร่วมเสวนากันในประเด็นที่มีความหมายอย่างยิ่ง

 

ปธน.ไช่ฯ กล่าวอีกว่า ตนนึกถึงคำพูด Epeli Hau 'ofa นักปรัชญาชาวโอเชียเนีย ที่เคยกล่าวไว้ว่า จากมุมมองทางบก ไต้หวันมักจะถูกมองว่าเป็น “เกาะในมหาสมุทรห่างไกล” (islands in a far sea) แต่ในแง่มุมทางทะเล ไต้หวันนับเป็น “เกาะหนึ่งในมหาสมุทร” (a sea of islands)

 

ปธน.ไช่ฯ แถลงว่า “พวกเราไม่ได้เล็กกระจิดริดอย่างที่หลายคนเข้าใจ” ไต้หวันต้องการมีส่วนร่วมในการอุทิศคุณประโยชน์แก่โลกให้มากยิ่งขึ้น ผ่านความเชื่อมโยงระหว่างกันในมหาสมุทรแปซิฟิค การประชุมพหุพาคีในครั้งนี้ เพื่ออภิปรายในประเด็นความเสมอภาคทางเพศ นับเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด


 

สำหรับประเด็นภาวะโลกร้อนและการอนุรักษ์ทางทะเล ปธน.ไช่ฯ ชี้ว่า เพียงหุ้นส่วนในมหาสมุทรแปซิฟิกร่วมมือกันให้มากขึ้น จะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ดี เพราะมหาสมุทรเป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งไต้หวันมีความยินดีและมีศักยภาพมากพอ ที่จะร่วมมือกับประเทศพันธมิตรอย่าง สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐปาเลา และหุ้นส่วนที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน ด้วยการร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ UN

 

ปธน.ไช่ฯ เผยว่า ถึงแม้ไต้หวันยังไม่ใช่สมาชิกอย่างเป็นทางการของ UN แต่มั่นใจว่าในการให้ความสำคัญกับเป้าหมาย SDGs ไต้หวันไม่แพ้ประเทศสมาชิกของ UN อย่างแน่นอน


 

ปธน.ไช่ฯ กล่าวปิดท้ายว่า เพียงแค่ให้โอกาสไต้หวันมากขึ้น ไต้หวันจะอุทิศคุณประโยชน์และประสบการณ์ เพื่อช่วยผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย SDGs นอกจากนี้ ไต้หวันยังสามารถนำมาซึ่งตัวเลือกความเป็นไปได้อีกหลายประการ เพื่ออุทิศให้กับโลกใบนี้