ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
สถานีโทรทัศน์ PTS ไต้หวัน สร้างสรรค์รายการ “Uni-thinking, uni-roaming” แบบข้ามประเทศ สังเกตความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรม
2020-05-27
New Southbound Policy。รายการ “Uni-thinking, uni-roaming” ที่ผลิตโดยความร่วมมือระหว่างสถานีโทรทัศน์สาธารณะไต้หวัน (Taiwan Public Television Service Foundation, PTS) ภาคภาษาไต้หวัน และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) มีกำหนดการออกอากาศในวันที่ 29 พ.ค.สวีชู่ถิง (ขวา) และ Wave (ซ้าย) สองพิธีกรได้ดำเนินรายการคู่กันในรูปแบบ 2 ภาษา (ภาพจากสถานีโทรทัศน์ PTS ภาคภาษาไต้หวัน)
รายการ “Uni-thinking, uni-roaming” ที่ผลิตโดยความร่วมมือระหว่างสถานีโทรทัศน์สาธารณะไต้หวัน (Taiwan Public Television Service Foundation, PTS) ภาคภาษาไต้หวัน และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) มีกำหนดการออกอากาศในวันที่ 29 พ.ค.สวีชู่ถิง (ขวา) และ Wave (ซ้าย) สองพิธีกรได้ดำเนินรายการคู่กันในรูปแบบ 2 ภาษา (ภาพจากสถานีโทรทัศน์ PTS ภาคภาษาไต้หวัน)

สำนักข่าว CNA วันที่ 24 พ.ค. 63

 

รายการ “Uni-thinking, uni-roaming” ที่ผลิตโดยความร่วมมือระหว่างสถานีโทรทัศน์สาธารณะไต้หวัน (Taiwan Public Television Service Foundation, PTS ) ภาคภาษาไต้หวัน และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) มีกำหนดการออกอากาศในวันที่ 29 พ.ค. นี้ โดยรายการดังกล่าวได้ใช้ภาษาไต้หวันและภาษาไทยควบคู่กัน ตระเวณสัมภาษณ์ผู้คนในชุมชนกว่า 20 แห่งของ 2 ประเทศ อีกทั้งนี่ยังเป็นประสบการณ์ครั้งแรกที่ได้สร้างสรรค์ผลงานแบบข้ามประเทศ ของนายตู้ลี่เหริน ผู้กำกับรายการ และสวี่ชู่ถิง พิธีกรรายการ ซึ่งถือเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้ทั้งคู่ได้สัมผัสกับความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง


 

นายตู้ฯ กล่าวขณะให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวของสำนักข่าว CNA ว่า รายการ “Uni-thinking, uni-roaming” เปิดกล้องถ่ายทำเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ทีมงานได้ใช้เวลาในการถ่ายทำรวมระยะเวลา 3 เดือน โดยต้องเดินทางไปเก็บภาพบรรยากาศทั้งในไต้หวันและไทย สาระสำคัญของรายการฯ มุ่งเน้นไปที่การนำเสนอเรื่องราวการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น การอยู่ร่วมกันในชุมชน โดยพิธีกรทั้ง 2 ที่ประกอบด้วยชาวไต้หวันและชาวไทยได้ดำเนินรายการคู่กัน ในรูปแบบ 2 ภาษา


 

นายตู้ฯและสวี่ฯ ทั้งคู่มีประสบการณ์ในการนำเสนอรายการท่องเที่ยวไต้หวันในเชิงลึกมาเป็นเวลานาน 10 กว่าปี และเคยร่วมมือกันดำเนินรายการท่องเที่ยวมาหลายรายการ ในช่วงเริ่มต้นของการผลิตรายการดังกล่าว ตัวแทนของทีมงานทั้ง 2 ประเทศได้หารือและวางแผนร่วมกัน แต่ภายหลังเนื่องด้วยปัจจัยของวิธีการนำเสนอ จึงได้แบ่งเป็น 2 ส่วนตามสถานที่ถ่ายทำในประเทศนั้นๆ ในส่วนของไทยตัดต่อโดยทีมงานของสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ส่วนของไต้หวันรับผิดชอบตัดต่อโดยทีมงานของสถานีโทรทัศน์ PTS ภาคภาษาไต้หวัน ซึ่งผลสัมฤทธิ์ฉบับสมบูรณ์คือการผนวกรวม 2 คลิปวิดีโอเข้าด้วยกัน


 

สวีฯ ค้นพบว่า ไต้หวันและไทยอยู่ในกระบวนการการพัฒนาชุมชนที่แตกต่างกัน เนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงส่งผลให้การพัฒนาในชุมชนเน้นไปที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก “ชุมชนต้องทำเงิน ถ้าไม่สามารถทำเงินได้ ทุกอย่างก็เป็นเพียงความหวังลมๆ แล้งๆ เท่านั้น” เพราะฉะนั้นในระหว่างการถ่ายทำ จึงได้เน้นไปที่การแนะนำสินค้ายอดนิยมประจำถิ่นหรือสถานประกอบการเชิงท่องเที่ยว เป็นส่วนมาก สำหรับชุมชนส่วนใหญ่ในไต้หวัน ได้ก้าวผ่านช่วงบุกเบิกมาแล้ว สวีฯ กล่าวว่า “เมื่อใดที่ว่างเว้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชนมักจะนำองค์ประกอบทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณเป็นตัวนำ และให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นรอง เพื่อคาดหวังให้ประชาชนรับทราบเรื่องราวในพื้นที่ชุมชนอย่างลึกซึ้ง”