ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ค่ายฝึกอบรมของ APEC ปี 2020 ปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์
2020-09-08
New Southbound Policy。ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในค่ายฝึกอบรมของ APEC ปี 2020 กำลังจำลองการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค (ภาพจาก MOFA)
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในค่ายฝึกอบรมของ APEC ปี 2020 กำลังจำลองการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค (ภาพจาก MOFA)

MOFA วันที่ 5 ก.ย. 63

 

เพื่อฝึกอบรมบุคลากรที่มีความสามารถเข้าสู่ “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย - แปซิฟิก” (APEC) กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัย APEC ของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจไต้หวัน (Taiwan Institue of Economic Research,TIER ) จัด “ค่ายฝึกอบรมว่าด้วยการดำเนินภารกิจของ APEC” (APEC Training Workshop) โดยได้ติดต่อเชิญเจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยงานที่ดำเนินภารกิจ APEC เข้าร่วมแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์การเข้าร่วมการประชุม APEC ในปีที่ผ่านๆ มา


 

โดยในค่ายฝึกอบรมครั้งนี้ ได้เชิญนางสวีลี่เหวิน เลขาธิการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ที่เคยดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ APEC และนางเหอรุ่ยผิง เจ้าหน้าที่สำนักงานการค้าและมิตรภาพมาเลเซีย ประจำกรุงไทเป (Malaysian Friendship and Trade Centre, Taipei) ซึ่งในปีนี้มาเลเซียเป็นประเทศเจ้าภาพในการจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) เข้าร่วมเป็นแขกกิตติมศักดิ์กล่าวปราศรัยในพิธีเปิดกิจกรรม โดยกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนร้อยกว่าคน บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเป็นไปอย่างคึกคัก


 

APEC เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าที่ไต้หวันเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกอย่างเป็นทางการ ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการบูรณาการด้านเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก รวมถึงระบบ นโยบาย โครงสร้างพื้นฐาน และการเชื่อมโยงของเศรษฐกิจดิจิทัล ในไต้หวันและประเทศสมาชิกรวม 20 ประเทศ ตราบจนวันที่ 31 ส.ค. หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของไต้หวัน ได้เข้าร่วมการประชุมและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของ APEC เป็นจำนวนกว่า 96 รอบแล้ว


 

ในปีนี้ แม้ว่าทุกหน่วยงานของไต้หวันจะวุ่นอยู่กับการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันโรคโควิด – 19 แต่ไต้หวันยังคงขานรับแผนข้อเสนอของ APEC อย่างกระตือรือร้น ด้วยการให้ความช่วยเหลือในการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ประเทศสมาชิกที่กำลังพัฒนา โดยในจำนวนนี้ มี 15 โครงการที่ได้รับเงินอุดหนุนจาก APEC ไต้หวันถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 2 ของประเทศสมาชิกทั้งหมด 21 ประเทศ นอกจากนี้ ในปัจจุบัน มีบุคลากรยอดเยี่ยมของไต้หวัน รวม 14 คนเข้าดำเนินภารกิจใน APEC ในฐานะประธานและรองประธานของคณะทำงาน ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างขีดความสามารถในด้านการเป็นผู้นำในประเด็นที่สำคัญระดับนานาชาติให้กับบุคลากรไต้หวัน