ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวันขอบคุณรัฐสภายุโรป ที่ผ่านญัตติว่าด้วยการสนับสนุน EU ให้เร่งพัฒนาความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนกับไต้หวัน ภายใต้ “ยุทธศาสตร์ว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างยุโรป – เอเชีย” เป็นครั้งแรก
2021-01-25
New Southbound Policy。เมื่อวันที่ 21 ม.ค. รัฐสภายุโรปได้มีมติให้ผ่านญัตติ “รายงานว่าด้วยการเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ระหว่างยุโรป - เอเชีย” (Connectivity and EU-Asia relations) เพื่อให้การสนับสนุน EU ในการเร่งพัฒนาความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนกับไต้หวัน ภายใต้“ ยุทธศาสตร์ว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างยุโรป – เอเชีย (Europe Asia Connectivity Strategy) (ภาพจากรัฐสภายุโรป)
เมื่อวันที่ 21 ม.ค. รัฐสภายุโรปได้มีมติให้ผ่านญัตติ “รายงานว่าด้วยการเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ระหว่างยุโรป - เอเชีย” (Connectivity and EU-Asia relations) เพื่อให้การสนับสนุน EU ในการเร่งพัฒนาความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนกับไต้หวัน ภายใต้“ ยุทธศาสตร์ว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างยุโรป – เอเชีย (Europe Asia Connectivity Strategy) (ภาพจากรัฐสภายุโรป)

สาระสำคัญของเนื้อข่าว :
♦ เมื่อวันที่ 21 ม.ค. รัฐสภายุโรปได้มีมติให้ผ่านญัตติ “รายงานว่าด้วยการเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ระหว่างยุโรป - เอเชีย” โดยมีสาระสำคัญระบุว่า EU ควรประยุกต์ใช้การเชื่อมโยงด้านสาธารณสุข โดยเรียนรู้จากผลสัมฤทธิ์ด้านการสกัดกั้นโรคระบาดของประเทศที่มีแนวคิคคล้ายคลึงกันอย่างไต้หวัน นิวซีแลนด์ เป็นต้น

♦ ญัตติข้างต้นยังได้ระบุให้เห็นถึงความจำเป็นในการประสานความร่วมมือระหว่าง EU – ไต้หวัน ประกอบด้วย เรียนรู้มาตรการป้องกันโรคระบาดจากไต้หวัน ยกระดับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

♦ ญัตติฉบับนี้นับเป็นญัตติที่เป็นมิตรต่อไต้หวันฉบับที่ 3 ที่รัฐสภายุโรปได้มีมติให้ผ่าน ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง แสดงให้เห็นถึงการให้การสนับสนุนไต้หวันอย่างหนักแน่น
-------------------------------------------
MOFA วันที่ 21 ม.ค. 64

 

เมื่อวันที่ 21 ม.ค. รัฐสภายุโรปได้มีมติให้ผ่านญัตติ “รายงานว่าด้วยการเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ระหว่างยุโรป - เอเชีย” (Connectivity and EU – Asia relations) ด้วยคะแนนเสียงข้างมาก โดยสัดส่วนของเสียงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยคือ 526 : 43 ส่วนผู้ที่สละสิทธิ์คิดเป็นจำนวนทั้งหมด 119 เสียง สาระสำคัญของญัตติฉบับนี้ ระบุว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) สะท้อนให้เห็นถึงความเร่งด่วนในการประสานความร่วมมือด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลก โดยเน้นย้ำว่า สหภาพยุโรป (EU) ควรประยุกต์ใช้การเชื่อมโยงด้านสาธารณสุข โดยเรียนรู้จากผลสัมฤทธิ์ด้านการสกัดกั้นโรคระบาดของประเทศที่มีแนวคิคคล้ายคลึงกันอย่างไต้หวัน นิวซีแลนด์ เป็นต้น ขณะเดียวกัน ก็ได้ระบุให้เห็นถึงความจำเป็นในการประสานความร่วมมือระหว่าง EU – ไต้หวัน ประกอบด้วย เรียนรู้มาตรการป้องกันโรคระบาดจากไต้หวัน ยกระดับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมทั้งเรียกร้องให้คณะกรรมมาธิการยุโรปกำหนดขอบเขตการเจรจา (Scoping Exercise) และเร่งดำเนินภารกิจการประเมินผลกระทบ (impact assessment) สำหรับความตกลงทวิภาคีด้านการลงทุน (BIA) ระหว่างไต้หวัน – ยุโรป ทั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการเปิดเจรจาการค้ากับไต้หวันอย่างเป็นทางการ

 

ต่อกรณีที่รัฐสภายุโรปได้มีมติผ่านญัตติว่าด้วยการสนับสนุน EU ให้เร่งพัฒนาความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนกับไต้หวัน ภายใต้ “ยุทธศาสตร์ว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างยุโรป – เอเชีย” (Europe Asia Connectivity Strategy) เป็นครั้งแรก กระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs, MOFA) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) รู้สึกยินดีเป็นอย่างมาก ซึ่งญัตติฉบับนี้นับเป็นญัตติที่เป็นมิตรต่อไต้หวันฉบับที่ 3 ที่รัฐสภายุโรปได้มีมติให้ผ่าน ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง แสดงให้เห็นถึงการให้การสนับสนุนไต้หวันอย่างหนักแน่น กต.ไต้หวันขอแสดงความขอบคุณด้วยใจจริง

 

EU ได้ยื่นเสนอ “ยุทธศาสตร์ว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างยุโรป – เอเชีย” ในเดือนกันยายน ปี 2018 โดยได้วางแผนผลักดันภารกิจการเชื่อมโยงยุโรป - เอเชียใน 4 มิติอย่างครอบคลุม ประกอบด้วย การขนส่ง เศรษฐกิจดิจิทัล พลังงาน และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม พร้อมนี้ EU ยังได้จัด “การประชุมสัมมนาว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างยุโรป - เอเชีย” (Europa Connectivity Forum) ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2019 ซึ่งสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนพันคนจาก 50 กว่าประเทศเข้าร่วม โดยไต้หวันก็ได้รับเชิญให้ร่วมจัดส่งคณะตัวแทนเดินทางไปเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน 4 ประเด็นข้างต้นร่วมกับคณะตัวแทนที่เข้ามีส่วนร่วมในครั้งนี้

 

กต.ไต้หวัน แถลงว่า ไต้หวันจะเร่งเสริมสร้างความร่วมมือกับ EU ประเทศสมาชิก และประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันต่อไป ภายใต้พื้นฐานค่านิยมสากลที่มีร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์แบบทวิภาคีในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล พลังงานสีเขียว และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สืบต่อไป