ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
คณะตัวแทนของโรงเรียนเทพศิรินทร์ เดินทางเยือนคกก.กิจการชาวจีนโพ้นทะเล สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือทางการศึกษา ระหว่างไต้หวัน - ไทย ในเชิงลึก
2023-06-28
New Southbound Policy。คณะตัวแทนของโรงเรียนเทพศิรินทร์ เดินทางเยือนคกก.กิจการชาวจีนโพ้นทะเล สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือทางการศึกษา ระหว่างไต้หวัน - ไทย ในเชิงลึก (ภาพจากคณะกรรมการกิจการชาวจีนโพ้นทะเล)
คณะตัวแทนของโรงเรียนเทพศิรินทร์ เดินทางเยือนคกก.กิจการชาวจีนโพ้นทะเล สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือทางการศึกษา ระหว่างไต้หวัน - ไทย ในเชิงลึก (ภาพจากคณะกรรมการกิจการชาวจีนโพ้นทะเล)

คณะกรรมการกิจการชาวจีนโพ้นทะเล วันที่ 26 มิ.ย. 66
 
เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. คณะตัวแทนหลักสูตรเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมในไต้หวัน ที่ผลักดันโดยโรงเรียนเทพศิรินทร์ และคณะตัวแทนของสถาบันการศึกษาที่จัดหลักสูตรฝึกอบรมทางเทคโนโลยีสำหรับเยาวชนในต่างแดน ได้เดินทางเข้าเยือนคณะกรรมการกิจการชาวจีนโพ้นทะเล (Overseas Community Affairs Council, OCAC) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ภายใต้การนำของนายหลิวหย่งหรง หัวหน้าคณะ โดยมีนายลวี่หยวนหรง รองประธาน OCAC เข้าให้การต้อนรับด้วยตนเอง ซึ่งในระหว่างการประชุม ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ในประเด็นการมุ่งผลักดันให้นักศึกษาชาวไทย เดินทางมาเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษาในไต้หวัน รวมถึงการเรียนการสอนภาษาจีน ระหว่างไต้หวัน - ไทย อีกด้วย
 
รองประธานลวี่ฯ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของนางสวีจางชิง ประธาน OCAC ให้การต้อนรับ บรรดาอธิการบดี รองอธิการบดีของโรงเรียนเทพศิรินทร์ในทุกสาขาทั่วประเทศไทย และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยรองประธานลวี่ฯ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งนักศึกษาที่สำคัญของไต้หวัน ตราบจนปัจจุบัน มีนักศึกษาชาวไทยเชื้อสายจีน ที่เข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษาไต้หวัน เป็นจำนวนรวม 1,792 คน โดยในจำนวนนี้มี 1,247 คนที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนอีก 545 คน เป็นนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา ซึ่งในปีนี้ ทางโรงเรียนเทพศิรินทร์ได้ส่งเสริมการแนะแนวให้นักเรียนจำนวน 21 คน ลงทะเบียนเข้าเรียนในหลักสูตรฝึกอบรมทางเทคโนโลยีสำหรับเยาวชนในต่างแดน ซึ่งบังเกิดผลสัมฤทธิ์ที่น่าพึงพอใจ
 
นายลวี่ฯ กล่าวว่า การเข้ารับการศึกษาระดับอุมศึกษาในไต้หวัน ของกลุ่มนักศึกษาต่างชาติเชื้อสายจีน สามารถเลือกได้ว่าต้องการเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษาทั่วไป หรือเลือกเรียนในหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม หลักสูตร 3+4 ปี ในสถาบันการอาชีวศึกษา หรือหลักสูตรปริญญาตรีที่เชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาควิชาการ หลักสูตร 4 ปี หรือหลักสูตรฝึกอบรมทางเทคโนโลยีสำหรับเยาวชนในต่างแดนหลักสูตร 2 ปี โดย OCAC ยังได้วางแผนจัดทุนการศึกษาในอัตราส่วนที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดในระหว่างการศึกษา ทั้งนี้ เพื่อต้องการส่งเสริมให้นักศึกษาเชื้อสายจีนที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยม เดินทางมาศึกษาต่อในไต้หวัน พร้อมทั้งส่งเสริมให้กลุ่มนักศึกษาเชื้อสายจีนที่สำเร็จการศึกษาในไต้หวัน เข้าประกอบอาชีพในไต้หวัน ผ่านการยื่นขออนุมัติด้วยการกรอกแบบฟอร์มประเมินศักยภาพตนเอง โดยนายลวี่ฯ คาดหวังที่จะเห็นกลุ่มคณะตัวแทนที่เดินทางมาเยือนในครั้งนี้ เก็บเกี่ยวข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมทางการศึกษาขั้นสูงในไต้หวัน เพื่อนำไปแบ่งปันสู่กลุ่มเยาวชนเชื้อสายจีนในต่างแดน และส่งเสริมให้เหล่าเยาวชนเดินทางมาเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ภาษาจีนในไต้หวันต่อไป
 
นายหลิวฯ ขอบคุณการสนับสนุนของ OCAC ที่กระตุ้นให้เกิดการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลงหัว (Lunghwa University of Science and Technology, LHU) ซึ่งในปีนี้ มีนักศึกษาไทยจำนวน 21 คนที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยม เดินทางมาเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษาในไต้หวัน นับเป็นหลักชัยที่สำคัญด้านการศึกษาระหว่างไต้หวัน - ไทย นายหลิวฯ กล่าวว่า โรงเรียนเทพศิรินทร์ให้ความสำคัญกับการศึกษาภาษาจีนเป็นอย่างมาก การเดินทางมาเยือนในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เหล่าอธิการบดี เข้าสัมผัสกับสภาพแวดล้อมด้านการเรียนรู้ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพของไต้หวันด้วยตนเอง ตลอดจนคาดหวังที่จะกระตุ้นให้เกิดโอกาสทางความร่วมมือที่เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น
 
หลังเสร็จสิ้นการประชุม โรงเรียนในเครือข่ายเทพศิรินทร์ 11 แห่ง สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และนายเก่อจื้อเสียงและนางหลินหรูเจิน อธิการบดีและรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลงหัว ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) ในการจัดตั้งหลักสูตรฝึกอบรมทางเทคโนโลยีสำหรับเยาวชนในต่างแดน ภายใต้การร่วมเป็นสักขีพยานของนายลวี่ฯ เพื่อเป็นการเปิดบริบทใหม่ให้แก่ความร่วมมือทางการอาชีวศึกษา ระหว่างไต้หวัน - ไทย โดยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเสริมสร้างการพัฒนาการศึกษาภาษาจีน ระหว่างไต้หวัน – ไทย ในเชิงลึกต่อไปในภายภาคหน้า เพื่อผลักดันการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือที่เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นต่อไป