ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวันชี้แจงกรณีนรม.ญี่ปุ่นแสดงจุดยืนว่าด้วยความสำคัญของสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน ในระหว่างการจัดการเจรจาแบบทวิภาคีร่วมกับปธน.สีจิ้นผิง ณ เมืองซานฟรานซิสโก เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา
2023-11-20
New Southbound Policy。กต.ไต้หวันชี้แจงกรณีนรม.ญี่ปุ่นแสดงจุดยืนว่าด้วยความสำคัญของสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน ในระหว่างการจัดการเจรจาแบบทวิภาคีร่วมกับปธน.สีจิ้นผิง ณ เมืองซานฟรานซิสโก เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
กต.ไต้หวันชี้แจงกรณีนรม.ญี่ปุ่นแสดงจุดยืนว่าด้วยความสำคัญของสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน ในระหว่างการจัดการเจรจาแบบทวิภาคีร่วมกับปธน.สีจิ้นผิง ณ เมืองซานฟรานซิสโก เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 17 พ.ย. 66
 
เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา Mr. Fumio Kishida นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมจัดการเจรจาแบบทวิภาคีขึ้น ณ เมืองซานฟรานซิสโก โดยในระหว่างการพูดคุยหารือ นรม. Kishida ได้แสดงจุดยืนว่า สันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวันมีความสำคัญต่อญี่ปุ่นและประชาคมโลกเป็นอย่างมาก กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) รู้สึกยินดีและขอแสดงความขอบคุณต่อนรม. Kishida ที่ยืนหยัดในจุดยืนว่าด้วยการสนับสนุนสันติภาพในช่องแคบไต้หวันอย่างหนักแน่น
 
หลายปีมานี้ พฤติกรรมการแผ่ขยายอิทธิพลของอำนาจเผด็จการจีน ได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในภูมิภาค จึงทำให้กลุ่มประเทศรายรอบและประชาคมโลก ต่างแสดงความห่วงใยและตระหนักถึงวิกฤตกันเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้แสดงจุดยืนในการสนับสนุนสันติภาพของช่องแคบไต้หวันบนเวทีนานาชาติบ่อยครั้ง เฉพาะในปี 2023 ญี่ปุ่นได้ระบุถึงความสำคัญของสันติภาพช่องแคบไต้หวันทั้งในแถลงการณ์แบบทวิภาคีและแบบพหุภาคีหลายครั้ง เช่น ในการประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐฯ - ญี่ปุ่น การประชุมผู้นำสหรัฐฯ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ รวมไปถึงการประชุมของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกทั้ง 7 ประเทศ (G7) ซึ่งล้วนแต่สะท้อนให้เห็นว่า สันติภาพและเสถียรภาพของช่องแคบไต้หวัน ได้กลายเป็นฉันทามติร่วมกันของสังคมโลกไปแล้ว
 
ไต้หวันในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก ที่เปี่ยมด้วยความรับผิดชอบ นอกจากจะเร่งเสริมสร้างแสนยานุภาพทางการทหารด้วยการพึ่งพาตนเองแล้ว ยังมุ่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางความร่วมมือในเชิงลึกกับกลุ่มประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน อย่างญี่ปุ่น สหรัฐฯ และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อร่วมธำรงรักษาเสรีภาพและการเปิดกว้างในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก รวมไปถึงสันติภาพ เสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองระดับโลก ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนสืบไป