ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวันแสดงความยินดีต่อการบังคับใช้ “ความตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงและป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนและการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร” ระหว่างไต้หวัน – เกาหลีใต้
2023-12-29
New Southbound Policy。กต.ไต้หวันแสดงความยินดีต่อการบังคับใช้ “ความตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงและป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนและการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร” ระหว่างไต้หวัน – เกาหลีใต้ (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
กต.ไต้หวันแสดงความยินดีต่อการบังคับใช้ “ความตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงและป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนและการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร” ระหว่างไต้หวัน – เกาหลีใต้ (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 28 ธ.ค. 66
 
เพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนและส่งเสริมความเป็นธรรมด้านภาษีอากร ระหว่างไต้หวัน – เกาหลีใต้ ควบคู่ไปกับการยกระดับความสัมพันธ์แบบทวิภาคีอย่างเป็นรูปธรรม หลังจากที่ไต้หวัน – เกาหลีใต้ได้ร่วมหารือมาเป็นระยะเวลากว่า 7 ปี เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2564 หน่วยงานตัวแทนรัฐบาลของทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามใน “ความตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงและป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนและการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร” (ADTA) ในทั้งสองพื้นที่ โดยข้อตกลงข้างต้นมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 27 ธ.ค. 2566 หลังแล้วเสร็จกระบวนการทางกฎหมายและการประกาศให้ทราบร่วมกัน โดยมาตรการต่างๆ ในความตกลง จะเริ่มบังคับใช้นับตั้งแต่วันปีใหม่ 2567 เป็นต้นไป กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ขอแสดงความยินดีจากใจจริง
 
ปัจจุบัน ไต้หวัน – เกาหลีใต้ เป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของกันและกัน โดยห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมแผ่นชิปวงจรรวมและเทคโนโลยีสารสนเทศของทั้งสองฝ่าย มีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด อีกทั้งความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าไปอย่างแนบแน่น การแลกเปลี่ยนของภาคประชาชนก็เป็นไปอย่างคึกคัก ความตกลงฉบับดังกล่าวได้ระบุมาตรการการลดทอนหรือยกเว้นการเรียกเก็บภาษีอากรอย่างเหมาะสม เชื่อว่าหลังจากที่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ จะสามารถยกระดับความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมและการแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยีระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
“ความตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงและป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนและการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร” ระหว่างไต้หวัน – เกาหลีใต้ เป็นความตกลงทางภาษีอย่างครอบคลุม ฉบับที่ 2 ที่ไต้หวันร่วมลงนามกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อจากการลงนามระหว่างไต้หวัน – ญี่ปุ่น ในช่วงก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนที่เปี่ยมด้วยศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการของทั้งสองฝ่าย พร้อมทั้งช่วยในการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าแบบทวิภาคี ตลอดจนสร้างความผาสุกให้แก่ประชาชนของทั้งสองฝ่าย และเสริมสร้างความสัมพันธ์แบบเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันในภายภาคหน้าต่อไป