ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวันแสดงความยินดีที่รัฐสภายุโรปผ่านญัตติเพื่อแสดงความห่วงใยต่อภัยคุกคามจากจีน พร้อมสนับสนุนให้ไต้หวัน – EU สร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน
2024-01-19
New Southbound Policy。กต.ไต้หวันแสดงความยินดีที่รัฐสภายุโรปผ่านญัตติเพื่อแสดงความห่วงใยต่อภัยคุกคามจากจีน พร้อมสนับสนุนให้ไต้หวัน – EU สร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
กต.ไต้หวันแสดงความยินดีที่รัฐสภายุโรปผ่านญัตติเพื่อแสดงความห่วงใยต่อภัยคุกคามจากจีน พร้อมสนับสนุนให้ไต้หวัน – EU สร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 18 ม.ค. 67
 
เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ที่ผ่านมา รัฐสภายุโรปได้มีมติให้ผ่านญัตติ “รายงานนัยยะเชิงกลาโหมและความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในสหภาพยุโรป (EU) ที่ได้รับผลกระทบจากจีน” ด้วยคะแนนเสียงที่เป็นเอกฉันท์ โดยเนื้อความในญัตติได้ระบุถึงความกังวลต่อภัยคุกคามที่จีนส่งผลกระทบต่อไต้หวันและในทะเลจีนใต้ พร้อมทั้งแสดงจุดยืนสนับสนุนว่าด้วยการสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน ระหว่างไต้หวัน – EU ของรัฐสภายุโรป กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) รู้สึกยินดีและขอบคุณด้วยใจจริง
 
สาระสำคัญในญัตติยังระบุว่า จีนเป็นผู้ผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้เกิดการผูกขาด ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกลาโหมและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรป การที่ EU มีมติผ่าน “กฎหมายแผ่นชิปยุโรป” นอกจากจะมีส่วนช่วยเสริมสร้างศักยภาพการผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์แล้ว ยังเป็นการเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรปและกลุ่มประเทศสมาชิก มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน เพื่อร่วมสรรค์สร้างคุณค่าของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อลดการพึ่งพาจากจีนให้ลดน้อยลง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมนโยบายการค้าแบบ “Open Strategic Autonomy” นอกจากนี้ ในรายงานยังได้ระบุถึงบทบาทที่สำคัญของไต้หวันในระบบห่วงโซ่อุปทานโลกและความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนการลงนามความตกลงทวิภาคีด้านการลงทุน (BIA) ระหว่างไต้หวัน –EU รวมไปถึงภารกิจต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ด้านความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนแบบทวิภาคีด้วย