ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
รายแรกในประวัติศาสตร์! โปแลนด์อนุมัติการส่งตัวผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงทางโทรคมนาคมข้ามพรมแดนกลับมารับโทษในไต้หวัน
2024-02-16
New Southbound Policy。รายแรกในประวัติศาสตร์! โปแลนด์อนุมัติการส่งตัวผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงทางโทรคมนาคมข้ามพรมแดนกลับมารับโทษในไต้หวัน (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
รายแรกในประวัติศาสตร์! โปแลนด์อนุมัติการส่งตัวผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงทางโทรคมนาคมข้ามพรมแดนกลับมารับโทษในไต้หวัน (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงยุติธรรม วันที่ 7 ก.พ. 67

เมื่อเดือนก.พ. ปีที่แล้ว รัฐบาลไต้หวันได้ยื่นคำร้องต่อรัฐบาลโปแลนด์ เกี่ยวกับการส่งตัวผู้ต้องหาแซ่หลิวในคดีฉ้อโกงทางโทรคมนาคมข้ามพรมแดน กลับมารับโทษในไต้หวัน หลังผ่านกระบวนการสอบสวนทางกฎหมายในโปแลนด์เป็นระยะเวลา 9 เดือน และกระบวนการต่างๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของโปแลนด์แล้ว จึงได้มีการอนุมัติให้ส่งตัวผู้ต้องหาแซ่หลิว เดินทางกลับมารับโทษในไต้หวันตามกฎหมาย โดยผู้ต้องหารายนี้ได้เดินทางถึงไต้หวันแล้วเมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา คดีดังกล่าวเป็นการนำตัวผู้ต้องหาที่หลบหนีการจับกุมไปยังต่างประเทศให้กลับมารับโทษในไต้หวันได้เป็นรายแรก ภายใต้การประสานความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตัวแทนรัฐบาลไต้หวันประจำโปแลนด์ รวมไปถึงรัฐบาลโปแลนด์ ซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการบังคับใช้กฎหมายและการจับตัวผู้ต้องหาข้ามพรมแดนแล้ว ยังสำแดงให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ที่เกิดจากการร่วมลงนาม “ความตกลงด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญา” ระหว่างไต้หวัน – โปแลนด์ ด้วย
 
ในระหว่างปีพ.ศ. 2560 องค์การตำรวจสากล (INTERPOL) ออกหมายแดง ประกาศจับตัวผู้ต้องหาแซ่หลิวฯ ที่เกี่ยวพันในคดีฉ้อโกงทางโทรคมนาคมข้ามพรมแดน ซึ่งถูกจับกุมตัวและถูกคุมขังไว้ในทัณฑสถานของโปแลนด์ หลังทราบข่าว รัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่จึงได้เรียกร้องต่อรัฐบาลโปแลนด์ให้ส่งตัวผู้ต้องหาไปดำเนินคดีในจีน แม้ว่าจะผ่านการอนุมัติจากทุกขั้นตอนกระบวนการศาลแล้ว ทว่าผู้ต้องหาแซ่หลิวฯ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (European Court of Human Rights, ECHR) โดยในปีพ.ศ. 2565 ศาล ECHR ได้กำหนดให้ประเด็นการส่งตัวผู้ต้องหาแซ่หลิวไปรับโทษในจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นการขัดต่อข้อระเบียบมาตรา 3 ในอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European Convention on Human Rights) ที่ระบุไว้ซึ่งการขจัดซึ่งการทารุณกรรมและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หลังจากทราบผลการพิจารณาคดีแล้ว กต.ไต้หวัน ได้ติดตามความคืบหน้าของคดีข้างต้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการประสานงานระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไต้หวัน สำนักงานตัวแทนรัฐบาลไต้หวันประจำโปแลนด์ และสำนักงานอัยการเขตไถจง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในคดีนี้อย่างใกล้ชิด
 
ไต้หวัน – โปแลนด์ ได้ร่วมลงนาม “ความตกลงด้านกระบวนการยุติธรรมทางคดีอาญา” ในปี พ.ศ. 2562 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ก.พ. ปีพ.ศ. 2564 โดยมีสาระสำคัญที่ระบุถึงการส่งผู้ร้ายข้ามแดน และการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันในด้านกระบวนการยุติธรรมทางคดีอาญา การโอนตัวนักโทษ การแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกทางกฎหมายและการบังคับใช้ การดำเนินคดีอาญา และการแลกเปลี่ยนข้อมูลการป้องกันการก่ออาชญากรรม เป็นต้น หลังจากที่ข้อระเบียบในความตกลงข้างต้นมีผลบังคับใช้เป็นต้นมา ไต้หวัน – โปแลนด์ได้เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันในด้านกระบวนการยุติธรรมทางคดีอาญา เป็นจำนวนบ่อยครั้ง ในครั้งนี้ที่รัฐบาลโปแลนด์ตอบรับต่อการยื่นคำร้องขอของไต้หวันในกรณีการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน และช่วยเหลือดำเนินการจนแล้วเสร็จ นับเป็นรายแรกของการส่งตัวผู้ต้องหาชาวไต้หวันจากต่างประเทศกลับสู่มาตุภูมิเป็นรายแรก อีกทั้งยังเป็นการวางรากฐานที่แข็งแกร่งในความสัมพันธ์ทางความร่วมมือทางคดีอาญา ระหว่างทั้งสองฝ่าย ไต้หวันรู้สึกขอบคุณด้วยใจจริงสำหรับความช่วยเหลือจากกระทรวงยุติธรรมโปแลนด์ รวมถึงหน่วยงานตำรวจ และหน่วยงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นต้น