ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียน ภายใต้กรอบ APEC ครั้งที่ 60 ปิดฉากลงอย่างราบรื่น โดยมีการร่วมหารืออนาคตของพลังงานสีเขียวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ด้านพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก
2024-04-25
New Southbound Policy。การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียน ภายใต้กรอบ APEC ครั้งที่ 60 ปิดฉากลงอย่างราบรื่น โดยมีการร่วมหารืออนาคตของพลังงานสีเขียวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ด้านพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (ภาพจากกระทรวงเศรษฐการ)
การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียน ภายใต้กรอบ APEC ครั้งที่ 60 ปิดฉากลงอย่างราบรื่น โดยมีการร่วมหารืออนาคตของพลังงานสีเขียวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ด้านพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (ภาพจากกระทรวงเศรษฐการ)

กระทรวงเศรษฐการ วันที่ 24 เม.ย. 67
 
กรมพลังงาน กระทรวงเศรษฐการ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) จัดการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลังงานใหม่และพลังหมุนเวียน (Expert Group on New and Renewable Energy Technologies, EGNRET) ครั้งที่ 60 ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ขึ้น ณ โรงแรม CHATEAU de CHINE นครเกาสง ในช่วงระหว่างวันที่ 24 – 25 เมษายน 2567 ซึ่งการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นในรูปแบบไฮบริด ทั้งการประชุมในสถานที่จริงและผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยมีคณะตัวแทนผู้เชี่ยวชาญจากเขตเศรษฐกิจ APEC และการประชุมสัมมนาภายใต้กรอบ APEC รวม 10 ประเทศ เข้าร่วมหารือกันในประเด็นการกำหนดนโยบายด้านพลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียน การจัดตั้งหน่วยงานทางเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการครองสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ภายในปี พ.ศ. 2573
 
เขตเศรษฐกิจ APEC ที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ไทย เวียดนาม สหรัฐฯ และรัสเซีย รวมไปถึง 7 หน่วยงานภายใต้กรอบ APEC ได้แก่ คณะทำงานเฉพาะกิจด้านพลังงาน (EWG) , EGNRET , กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานฟอสซิลสะอาด (EGCFE) , กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลบิ๊กดาต้าด้านพลังงาน (EGEDA) , กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการประหยัดพลังงานและการประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ (EGEEC) , ศูนย์วิจัยพลังงานในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (APERC) และสถาบันพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก (APSEC) และยังรวมไปถึงหน่วยงานนอกองค์การ APEC อย่างองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) และทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (IRENA) ส่งผลให้จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ มีมากกว่า 50 คน
 
นางองซู่เจิน เลขาธิการกรมพลังงานไต้หวัน ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไต้หวัน กล่าวขณะปราศรัยว่า ไต้หวันได้ประกาศวิสัยทัศน์ “แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2593” โดยกำหนดให้การเพิ่มพูนสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์สำคัญ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นเขตเศรษฐกิจที่ปลอดก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืนด้วยการพัฒนาพลังงานสีเขียวให้กลายเป็นพลังงานหลัก
 
ในระหว่างการประชุม นายเฉินจงเซี่ยน หัวหน้าฝ่ายกิจการพลังงาน กระทรวงเศรษฐการไต้หวัน ได้ร่วมแบ่งปัน “การเปลี่ยนผ่านของการปลอดก๊าซเรือนกระจกและการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของไต้หวัน” พร้อมทั้งชี้แจงสถานการณ์ด้านพลังงานล่าสุดของไต้หวัน และการวางแผนแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2593 รวมไปถึงเป้าหมายการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและกลยุทธ์สำคัญ โดยนอกจากจะมุ่งผลักดันพลังงานโซลาร์เซลล์ และจัดตั้งฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งแล้ว ยังมุ่งพัฒนาพลังงานไฮโดรเจน และเทคโนโลยีพลังงานที่ทันสมัย อย่างเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) เนื่องจากมีการเร่งพัฒนาพลังงานหมุนเวียนให้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงคาดการณ์ว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าที่เกิดจากพลังงานหมุนเวียนของไต้หวัน จะครองสัดส่วนร้อยละ 60 – 70 ภายในปี พ.ศ. 2593 อย่างแน่นอน
 
ในระหว่างการประชุม ตัวแทนเขตเศรษฐกิจ APEC ยังได้ร่วมแบ่งปันสถานการณ์การพัฒนาพลังงานหมุนเวียน การผลักดันนโยบายและการพัฒนาทางเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการมุ่งอภิปรายแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพ และการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก รวมถึงทิศทางความร่วมมือทางเทคโนโลยีพลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียนในกลุ่มประเทศ APEC อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายพลังงานหมุนเวียนร่วมกันตามระยะเวลาที่กำหนด