คนที่อาศัยท้องทะเลในการทำมาหาเลี้ยงชีพมีมากมาย แต่คนที่ปกป้องท้องทะเลกลับมีแค่หยิบมือเดียว และยังมีอีกจำนวนมากเอาแต่จะหาประโยชน์จากท้องทะเล พวกเขาหารู้ไม่ว่า การจับสัตว์น้ำเกินขนาดและขยะที่ลอยอยู่ในทะเล ทำลายท้องทะเลที่เคยงดงามจนย่อยยับ
คนที่อาศัยท้องทะเลในการทำมาหาเลี้ยงชีพมีมากมาย แต่คนที่ปกป้องท้องทะเลกลับมีแค่หยิบมือเดียว และยังมีอีกจำนวนมากเอาแต่จะหาประโยชน์จากท้องทะเล พวกเขาหารู้ไม่ว่า การจับสัตว์น้ำเกินขนาดและขยะที่ลอยอยู่ในทะเล ทำลายท้องทะเลที่เคยงดงามจนย่อยยับ
เมื่อกล่าวถึงไถตง ภาพกิจกรรมต่างๆ ที่เต็มไปด้วยความคึกคักก็แล่นเข้ามาในสมองอย่างไม่ขาดสาย ทั้งเทศกาลศิลปะฉือซ่าง การแข่งขันกระดานโต้คลื่นที่หาดจินจุน และเทศกาลบอลลูนตำบลลู่เหย่ ทำให้ภาพลักษณ์เดิมๆ ของชนบทที่ได้รับการขนามนามว่า “เขาสวย น้ำใส แต่เต็มไปด้วยความน่าเบื่อ” เมื่อผ่านการสรรค์สร้างออกแบบของภาครัฐและมีกลุ่มองค์กรเอกชนเข้าตั้งประจำด้วย ปัจจุบันไถตงได้แปลงโฉมกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงก้องโลกไปแล้ว
ศ.เจิงฉิงเสียน (曾晴賢) แห่งวิทยาลัยชีววิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติชิงหัวของไต้หวัน (NTHU) ผันตัวเองจากการวิจัยด้านการอนุกรมวิธานของปลาเข้าสู่แวดวงของนิเวศวิศวกรรม โดยใช้แนวคิดจากมุมมองของปลา มาใช้ในการช่วยเหลือให้เหล่ามัจฉาทั้งหลายได้มีโอกาสว่ายน้ำกลับบ้าน และช่วยเหลือปูบกให้ข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย จนได้รับการยกย่องให้เป็นผู้บุกเบิกด้านนิเวศวิศวกรรมและการอนุรักษ์ระบบนิเวศของแม่น้ำในไต้หวันเลยทีเดียว
เมื่อย่างก้าวเข้ามาในร้าน “ครัว IBUxร้านหนังสือตงกวาซัน” (IBU廚房×冬瓜山書店) ซึ่งตั้งอยู่ภายในตรอกย่านถนนหนานซิงลู่ ตำบลตงซัน เมืองอี๋หลาน สิ่งที่สะดุดตาเป็นอย่างมากคือกำแพงที่มีหนังสือเรียงรายเต็มไปหมด บวกกับกลิ่นที่เตะจมูกเป็นกลิ่นหอมอ่อนๆ ของมะพร้าวและกลิ่นฉุนของเครื่องเทศ ที่นี่เป็นแหล่งสำหรับให้ยืมหนังสือฟรี ลิ้มลองอาหารของภูมิภาคอาเซียน และเป็นพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์ของแรงงานต่างชาติและผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมื่อขี่จักรยานไปในแถบที่ราบลุ่มเจียหนานบนทางหลวงหมายเลข “ไถ 1” (ทางหลวงไต้หวันหมายเลข 1) ซึ่งถือเป็นทางหลวงที่เก่าแก่ที่สุดของไต้หวัน จุดต่างๆ ที่เราผ่าน ถือเป็นจุดสำคัญในยุคสมัยแห่งการบุกเบิกของไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำ ตลาดค้าวัว และย่านสถานีรถไฟอันคึกคัก การเดินทางของเราในครั้งนี้ก็เหมือนกับการท่องไปตามเส้นเลือดใหญ่ของเกาะไต้หวัน ก่อนจะกลับมาสู่ต้นกำเนิดของอู่ข้าวอู่น้ำอันอุดมสมบูรณ์ ที่เป็นเสมือนกับคลังเสบียงของประเทศ สิ่งที่จักรยานของเราวิ่งผ่านมิใช่เพียงแค่พิกัดตามภูมิศาสตร์
เมื่อควินัวซึ่งมาจากละตินอเมริกากลายเป็นที่สนใจไปทั่วโลก จนเป็นดาวดวงเด่นในแวดวงอาหารเพื่อสุขภาพ และในขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตของการขาดแคลนอาหาร หลายๆ คนกลับไม่รู้เลยว่าในหมู่บ้านของชนเผ่าพื้นเมืองมีของล้ำค่าที่ชื่อว่า “ควินัวไต้หวัน” ปลูกกันอยู่ทั่วไป
คัมภีร์เปิ๋นเฉ่ากังมู่ (本草綱目) ซึ่งเป็นตำรายาสมุนไพรจีนในยุคราชวงค์หมิง บันทึกไว้ว่า “มะระ มีรสขม ฤทธิ์เย็น ไร้พิษ ขับร้อน แก้อาการเหนื่อยล้า โรคหัวใจ และบำรุงสายตา”
ถ้าไม่เดินทางไปต่างประเทศหรือเดินทางไปในพื้นที่ที่ห่างไกล ก็คงยังไม่รู้ถึงความงดงามของไต้หวัน แม้จะเป็นเกาะเล็กๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก แต่ความแตกต่างของสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศก่อให้เกิดผลผลิตและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เกษตรกรและผู้เชี่ยวชาญร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด สร้างสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้ปรากฏเป็นจริง และไม่มีใครเคยคิดว่า หลังจากผลิตกาแฟ วิสกี้ กับไวน์คุณภาพสูงได้แล้ว ในวันนี้เมืองผิงตงที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศก็กำลังพัฒนาอุตสาหกรรมโกโก้ให้มีชื่อเสียงก้าวขึ้นสู่ระดับโลกอีกครั้ง
กระทรวงการต่างประเทศไต้หวัน สาธารณรัฐจีน ได้ริเริ่มดำเนินการความร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ของฟิลิปปินส์, เวียดนาม, อินเดีย และไทย ผลิตรายการเฉพาะกิจที่มีชื่อว่า “Embracing Taiwan” ทีมงานผู้ผลิตรายการส่วนใหญ่เคยทำรายการท่องเที่ยวแนะนำไต้หวันมาก่อน แต่ในระหว่างการถ่ายทำครั้งนี้ พวกเขากลับพบว่าไต้หวันไม่ได้มีเพียงอาคารไทเป 101, พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติกู้กง และตลาดไนท์มาร์เก็ตเท่านั้น แต่ยังมีเทคโนโลยีอัจฉริยะไฮเทคสุดล้ำ สภาพแวดล้อมสำหรับการศึกษาต่ออันเป็นเลิศและเป็นมิตร
เวิร์กชอปงานหัตถกรรมมีให้เห็นอย่างดาษดื่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตามห้างสรรพสินค้าหรือตลาดนัดต่างๆ จะเห็นบรรดามืออาชีพเปิดคอร์สสอนงานหัตถกรรมให้แก่เด็กๆ การลงมือทำด้วยตนเองจึงกลายเป็นที่นิยมในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่ามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นต่อวิธีคิดของชาวไต้หวันที่มีต่องานหัตถกรรมแบบดั้งเดิม