ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไต้หวันได้อันดับ 5 ของเอเชียด้านบรรษัทภิบาล
แหล่งที่มาของข้อมูล Commercial Times
2018-12-12

ไต้หวันได้อันดับ 5 ของเอเชียด้านบรรษัทภิบาล

นสพ. Commercial Times วันที่ 11 ธ.ค. 61

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมาสมาคมบรรษัทภิบาลแห่งเอเชียหรือ  Asian Corporate Governance Association (ACGA) ได้เปิดเผยรายงาน CG Watch 2018: Hard decisions ที่ฮ่องกง ซึ่งเป็นการประกาศผลการสำรวจการให้คะแนนด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทในเอเชียแบบ 2 ปีครั้ง โดยในปีนี้ได้รวมเอาออสเตรเลียไว้ในการสำรวจด้วย โดยในบรรดา 12 ตลาดที่ทำการสำรวจนั้น ไต้หวันอยู่ในอันดับที่ 5 เท่ากับการประกาศครั้งก่อนหน้าในปี 2016

 

รายงานในปีนี้ ได้นำเอาประเด็นของ Hard Decisions มาใช้เป็นหัวข้อหลัก และทำการสำรวจตลาดต่างๆ ในเอเชียในด้านการปฏิรูปการกำกับดูแลกิจการเมื่อต้องประสบกับปัญหาที่ยากแก่การตัดสินใจ เช่น หลักการ Dual-Class Share Structure และ Same Stock, Same Right จะทำให้เกิดผลกระทบด้านความไว้วางใจของนักลงทุนที่มีต่อหน่วยงานกำกับดูแลของเอเชีย เป็นต้น และมีการเปลี่ยนแปลงระบบการให้คะแนนในรายงานของปีนี้ด้วย โดยเพิ่มปัจจัยหลักในการให้คะแนนจาก 5 ปัจจัย เป็น 7 ปัจจัย

 

ทั้งนี้ ACGA ถือเป็นองค์กร NPO ซึ่งก่อตั้งขึ้นที่ฮ่องกงในปี 1999 ด้วยความร่วมมือของ California Public Employees' Retirement System (CalPERS), Asian Development Bank (ADB) และ Lombard/Apic โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งด้านบรรษัทภิบาลในหมู่ประเทศเอเชีย อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจและตลาดทุนของเอเชีย ปัจจุบันถือเป็นองค์กรสำคัญที่สุดที่ทำงานด้านการส่งเสริมบรรษัทภิบาลในเอเชีย

 

ตลาดหลักทรัพย์ชี้ว่า สมาชิกของ ACGA มีมากกว่า 100 ราย ซึ่งรวมถึงสถาบันการเงินและเหล่ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจากทั่วเอเชียและทั่วโลก ซึ่งกองทุนที่เหล่าสมาชิกของ ACGA เป็นผู้บริหารอยู่ คิดเป็นมูลค่ารวมมากกว่า 30 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ ACGA ได้เริ่มการประกาศรายงาน CG Watch ตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา โดยมีการให้คะแนนและจัดอันดับตลาดต่างๆ ในเอเชียในด้านบรรษัทภิบาล ซึ่งเนื้อหาในรายงานของ CG Watch จะได้รับความสนใจจากเหล่านักลงทุนระดับสถาบันจากทั้งในและนอกเอเชียเป็นอย่างมาก